วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

"โยมมุสลิม นั่นศาสนาอาตมา" เชิญโต๊ะละแบกินบุญ

ศาสนาพุทธ
ตามธรรมเนียมทั่วไปของคนไทย เมื่อจะมีงานการมงคลใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญวันเกิด บรรพชาอุปสมบท แต่งงาน ฯลฯ ย่อมต้องจัดให้มีการทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระร่วมด้วยเสมอ เพื่อความเป็นสิริมงคล อีกทั้งยังถือว่า เป็นการสนับสนุนกิจการของพระพุทธศาสนาทางหนึ่งด้วย เพราะพระสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อมาในงานชุมนุมหรืองานประเพณีของชาวบ้าน ย่อมมีโอกาสสาธยายธรรมเผยแพร่วัตรข้อปฏิบัติอันประเสริฐ แก่สาธุชนทั่วไป
ดังนั้น แม้ในงานประเพณีอื่นๆ ที่เป็นอวมงคล เช่น งานศพ งานเกี่ยวกับประเพณีหลังการตาย อันได้แก่ งานทำบุญร้อยวันให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ งานสวดทำบุญกระดูก ฯลฯ ก็มีการทำบุญเลี้ยงพระประกอบด้วยเสมอ
อันพิธีอวมงคลนั้น ตามความหมายก็คือ การทำพิธีให้ร้ายกลับกลายเป็นดี หรือทำให้ความไม่เป็นมงคล เช่นเมื่อมีคนตายในบ้านหลายเป็นสิริมงคล หลังจากทำพิธีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
ศาสนาอิสลาม
หากสังเกตศาสนาอิสลามจะไม่กล่าวถึงกลุ่มคนทำพิธีกรรมทางศาสนา เพราะขณะท่านนบีมุหัมมัด ซล. มีชีวิตอยู่ ท่านเองก็ร่วมงานนิกาหฺ งานวะลีมะฮฺ งานศพ อะกีเกาะฮฺ ฯลฯ ไม่พบหลักฐานว่าท่านนบีนำขอพร (ดุอาอ์) หรือทำพิธีกรรมกันเป็นหมู่คณะ หรือแต่งตั้งกลุ่มคนใดเป็นตัวแทนทำพิธีทางศาสนาแทนท่านนบีมุหัมมัด ซล. แม้แต่ครั้งเดียว อาทิเช่น การขอพรในงานวะลีมะฮฺ ท่านก็ให้เหล่าเศาะหาบะฮฺ (มิตรร่วมศรัทธา) ต่างคนต่างขอดุอาอ์ให้แก่คู่บ่าวสาว หรือภายหลังที่ฝังคนตายเสร็จแล้ว ท่านนบีเองสั่งให้คนที่อยู่บริเวณนั้นขอดุอาอ์ให้แก่ผู้ตาย หรือแม้กระทั่งหลังนมาซฟัรฺฎูเสร็จแล้ว ท่านนบีเองก็ไม่เคยร่วมกันขอพรพร้อมกันเป็นหมู่คณะแม้แต่ครั้งเดียว นี่แสดงให้เห็นว่าท่านนบีมิได้กำหนดให้มุสลิมตั้งกลุ่มชนขึ้นมากลุ่มหนึ่งแล้วรับจ้าง หรือรับอาสาทำพิธีกรรมทางศาสนา เพราะเรื่องของศาสนาเป็นเรื่องของแต่ละคนพึงปฏิบัติด้วยตัวเองอยู่แล้ว ส่วนการทำพิธีกรรมทางศาสนาพร้อมกันเป็นหมู่คณะ เช่น เชิญผู้รู้ทางศาสนาอิสลามมาอ่านอัลกุรฺอานพร้อมกัน หรือเชิญมาขอพรพร้อมกันในโอกาศใดโอกาสหนึ่ง หรือในพิธีกรรมใดพิฑีกรรมหนึ่งเหมือนศาสนาพุทธ หรือศาสนาอื่นนั้นไม่มีในอิสลาม
ประเพณีท้องถิ่นนิยม
ส่วนมุสลิมคนใดที่จัดกลุ่มขึ้นมา หรือทำกลุ่มขึ้นมาแล้วอาสาทำพิธีกรรมหรือรับจ้างทำพิธีกรรมแล้วอ้างว่านี่คืออิสลาม ก็เท่ากับว่ากลุ่มคนผู้นั้นได้ไปเลียนแบบประเพณี ธรรมเนียม หรือแนวทางการปฏิบัติของศาสนาอื่นแล้ว ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคนต้องละทิ้งโดยเด็ดขาด โปรดสังเกตดูเถิด หากมีงานกินบุญก็ต้องเชิญโต๊ะละแบ หรือกลุ่มคนที่คอยทำพิธีกรรมทางศาสนา โดยพวกเขาอ่านกุรฺอานบ้าง ทั้งๆ แนวการปฏิบัติเช่นนั้นก็ไม่มีแบบจากท่านนบีมุหัมมัด ซล. รวมถึงอัลกุรฺอานกับบทขอพร ท่านนบีเองก็ไม่เคยอ่านเฉกเช่นการอ่านของมุสลิมบางกลุ่มบางคนกระทำในยุคปัจจุบัน
อนึ่ง การกระทำบางอย่างกลับไปคล้ายกับทางศาสนาพุทธ อาทิเช่น ความเชื่อทางพุทธที่เชิญพระไปร่วมงานศพเพื่อทำพิธีกรรม โดยทำให้งานมีสิริมงคล ทำเรื่องร้ายให้กลายเป็นเรื่องดี ก็ไม่ต่างจากมุสลิมบางคน หรือบางกลุ่มที่เชิญโต๊ะละแบทำพิธีกรรมอ่านอัลกุรฺอาน และอ่านบทดุอาอ์ที่บ้านคนตาย ทั้งๆ ที่เป็นวันที่ต้องเศร้าโศกเสียใจ แต่กลับเชิญโต๊ะละแบทำพิธีกรรม สุดท้ายลงเอยด้วยการกินอาหารอย่างเอร็ดอร่อย ทุกคนปีติยินดีและมีความสุขที่บ้านคนตายกันอย่างทั่วหน้าแล้วอ้างว่านั่นคือความจำเริญ (บะเราะกะฮฺ) นี่แหละที่เรียกว่าเรื่องร้าย (มีคนตาย) ก็ทำให้กลายเป็นเรื่องดี (ให้โต๊ะละแบมาขออุอาอ์ให้)
สรุป เรื่องเชิญโต๊ะละแบกินบุญ เป็นเรื่องประเพณีที่มุสลิมบางกลุ่มริทำขึ้นเองโดยไปลอกเลียนแบบธรรมเนียมและความเชื่อของชาวพุทธมานั่นเอง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องอะไรกับคำสอนของอิสลามเลยทั้งสิ้น

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

http://muslimhotreport.blogspot.com

"โยมมุสลิม นั่นศาสนาอาตมา" ความเกริ่นนำ

ที่มาของสามจังหวัดชายแดนภายใต้ ตามหลักฐานประวัติศาสตร์นั้น ยังไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าได้ตั้งขึ้นเมื่อไร แต่ตามจดหมายเหตุของจีน ตอนที่ชาวจีนมีการติดต่อกับดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 นั้น เมืองลังกาสุกะ (Jangkaguka) ตั้งขึ้นแล้ว (Nakula), (1964-1965 : 20 อ้างถึงใน ฉวีวรรณ วรรณประเสริฐ 2524 : 7) จากจดหมายเหตุนี้ นักเขียนชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่า เมืองลังกาสุกะ ดังกล่าวเป็นเมืองเดิมของปัตตานี (Wheatley 196 : 30 อ้างถึงในฉวีวรรณ วรรณประเสริฐ 2524 : 7) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแหลมมลายู คือ อยู่ระหว่างสงขลากับกลันตัน มีเมืองหลวงอยู่ในบริเวณจังหวัดปัตตานีปัจจุบัน (Pearn 2511 : 8) อาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมากในแหลมมลายู โดยมีปัตตานีเป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญ ก่อนที่ศาสนาพราพมณ์จะเข้ามาในอาณาจักรนี้ราว ค.ศ. 200 ประชากรในบริเวณนี้นับถือภูตผีและธรรมชาติต่างๆ เช่น แม่น้ำ ต้นไม้ ฯลฯ
นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า ชาวลังกาสุกะนับถือศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ ภายใต้อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียและลังกาสุกะเป็นเมืองท่าที่สำคัญตั้งแต่พุทธสตวรรษที่ 8 เพราะอ่าวลังกาสุกะ (อ่าวปัตตานี) ใช้เป็นที่หลบภัยพายุมรสุมของชาวเรือค้าขายได้เป็นอย่างดีต่อมาอาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 12-18) ได้แผ่อาณาเขตครอบคลุมบริเวณปัตตานี แหลมมาลายู บางส่วนของบอร์เนียว ชวาและสุมาตรา อิทธิพลของพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมากในบริเวณนี้ ดังนั้น ชาวปัตตานีจึงได้มีการนับถือศาสนาพุทธโดยทั่วไป (ฉวีวรร วรรณประเสริฐ 2525 : 7-8) พอล่วงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 12 เมืองเล็กๆ ในเกาะสุมาตราได้รวมกันเข้าเป็นอาณาจักรเรียกว่า “อาณาจักรศรีวิชัย” และได้แผ่อำนาจไพศาลเข้ามาสู่ดินแดนไทยทางภาคใต้ตลอดไปจนถึงเมืองเพชรบุรี ซึ่งติดกับเขตแดนของอาณาจักรทวาราวดี ต่อมาอาณาจักรทั้งสองเสื่อมลง เมืองต่างๆ ก็ตั้งตัวเป็นอิสระในภาคใต้ มีเมืองตามพรลิงค์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนครศรีธรรมราชได้แข็งเมืองไม่ขึ้นต่ออาณาจักรศรีวิชัย และได้ผนวกเอาหัวเมืองใกล้เคียงเข้ามาเป็นเมืองขึ้นถึง 12 เมือง เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจ ปรากฏว่า ในเกาะชวาและสุมาตราได้เกิดอาณาจักรใหม่ขึ้นเรียกว่า อาณาจักรมัชปาหิต บังเกิดความเจริญรุ่งเรืองสามารถแผ่นอิทธิพลไปถึงอรับและอินเดีย ปรากฏว่ามีชาวอรับและอินเดีย ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้เข้ามาติดต่อค้าขาย และทำการเผยแผ่ศาสนาด้วยในคราวเดียวกัน ประมาณปี พ.ศ. 1980 (ค.ศ. 1437, ฮ.ศ. 857) ชาวอรับและอินเดียได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ที่เมืองสิงคโปร์ มะละกา กลันตัน ไทรบุรี และเมืองปัตตานี (อุทัย หิรัญโต 2521 : 14-16)
หลังจากอาณาจักรลังกาสุกะได้รุ่งเรืองอยู่ไม่น้อยกว่า 1 พันปีอาณาจักรนี้ได้เลือนไปจากประวัติศาสตร์ จากการเข้าไปครอบคลุมของอาณาจักรศรีวิชัย และเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง นอกจากจะเกิดอาณาจักรมัชปาหิตที่ชวาแล้ว อาณาจักรปัตตานีก็เกิดขึ้นในอาณาบริเวณของอาณาจักรลังกาสุกะเดิม ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 และอิสลามได้แผ่ขยายและรุ่งเรืองอย่างมากหลังจากที่ราชาของอาณาจักรนี้ได้เข้ารับอิสลาม
ด้วยประวัติข้างต้น ทำให้พี่น้องรู้ว่า ในอดีตก่อนที่ผู้คนในรัฐปัตตานีจะกลายเป็นมุสลิม ได้นับถือภูตผีปีศาจ, ต้นไม้ จากนั้นก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาฮินดู, ศาสนาพราหมณ์ จากนั้นก็เปลี่ยนมาเป็นศาสนาพุทธ (มหายาน) จนกระทั่งสุดท้ายก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามจวบจนปัจจุบัน แม้ว่ารัฐปัตตานีจะกลายเป็นจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยไปแล้วก็ตาม
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไมมุสลิมในประเทศไทยจึงมักมีความเชื่อของพุทธเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือมีพิธีกรรมศาสนาพราหมณ์เข้ามาปะปนกับวิถีชีวิตของมุสลิมอยู่เนืองๆ เป็นเพราะในอดีตก่อนที่บรรพบุรุษของเราจะเป็นมุสลิม พวกเขานับถือทั้งศาสนาพราหมณ์และพุทธมาก่อนหน้านี้...นี่เอง จึงทำให้บางครั้งไม่สามารถแยกแยะออกได้เลยว่าแบบไหนคืออิสลาม และแบบไหนที่ไม่ใช่อิสลาม สุดท้ายเลยผสมปนเปกันโดยปริยาย จากนั้นก็นิยมปฏิบัติตามกันเรื่อยมาจนกระทั่งเป็นพิธีกรรม หรือประเพณีของมุสลิมบางกลุ่มบางก้อนจวบจนปัจจุบัน
แต่ด้วยขณะนี้ สังคมมุสลิมของเรามีโต๊ะครูที่จบศาสนามาจากต่างประเทศมากขึ้น กลับมาชี้แจง และสอนให้มุสลิมรู้ว่า สิ่งไหนไม่ใช่หลักการของอิสลาม และสิ่งไหนคือสิ่งที่เรียกว่าอิสลาม แม้โต๊ะครูเหล่านั้นจะพยายามสักเพียงใด แต่ร่องรอยแห่งการยึดติดสิ่งที่บรรพบุรุษได้กระทำมาอย่างนมนานก็ยากยิ่งจะสลัดทิ้งได้หมด เช่นนี้แหละหนังสือเล่มนี้ จึงเสมือนหนึ่งช่วยบรรเทาให้พี่น้องผู้อ่านได้รับทราบรับรู้ถึงข้อเท็จจริงของศาสนา พร้อมกระตุ้นให้มุสลิมลุกขึ้นมาปฏิบัติวิถีของตนเองโดยสลัดทิ้งความเชื่อ หรือการปฏิบัติที่ไม่ใช่อิสลามให้หมดไปจากตัวของมุสลิมเอง และให้หมดไปจากสังคมมุสลิมเสียที ซึ่งสิ่งที่ว่านั้นมีพิธีกรรมอะไรบ้าง มีความเชื่ออะไรบ้างนั้น กรุณาศึกษาเนื้อหาจากหนังสือเล่มนี้ได้เลยครับ

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

http://muslimhotreport.blogspot.com

"โยมมุสลิม นั่นศาสนาอาตมา" พิธีโกนผมไฟ

ศาสนาพุทธ
                ครั้งถึงฤกษ์งามยามดี ผู้กระทำพิธีก็นำเด็กออกมาวางต่อหน้าพระสงฆ์ โดยหันศีรษะเด็กไปทางทิศที่โหรกำหนด ส่วนใหญ่จะนำออกมาก่อนได้เวลาฤกษ์เล็กน้อย เพื่อให้ญาติมิตรได้ชื่นชมในตัวเด็ก ครั้งถึงฤกษ์โหรก็ทำการลั่นฆ้องชัย ผู้ที่ได้รับเชิญมาเป็นประธานในงานทำการหลั่งน้ำจากหอยสังข์รถไปบนศีรษะของเด็ก แล้วหยิบมีดโกนแตะบนศีรษะเด็กพอเป็นพิธีพร้อมอวยชัยให้พร พระสงฆ์สวดชยันโตพราหมณ์เป่าสังข์และไกวบัณเฑาะว์ บรรดาพิณพาทย์บรรเลงเพลงมหาฤาษ์มหาชัย ต่อจากนั้นจึงให้ช่างทำการโกนผมไฟ
ศาสนาอิสลาม
                เมื่อทารกมีอายุครบเจ็ดวัน มีแบบฉบับจากท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. ให้ทำอะกีเกาะฮฺ ท่านรสูล ซล. กล่าวไว้ว่า “ทารกทุกคนถูกประกันด้วยอะกีเกาะฮฺของเขาด้วยการเชือดสัตว์ในวันที่เจ็ด ให้โกนศีรษะและตั้งชื่อเขา”
                ด้วยหะดีษข้างต้น ท่านรสูล ซล. ระบุถึงการทำอะกีเกาะฮฺด้วยแพะ หรือแกะให้ตั้งชื่อทารก ให้โกนศีรษะทารก หะดีษบางบทเพิ่มการทำตะหนีก (คือการนำน้ำผึง หรืออินทผลัมบดป้ายที่เพดานปากของทารก) ดังนั้นการทำอะกีเกาะฮฺจึงไม่มีการทำพิธีกรรมใดๆ อีกแล้ว ภายหลังได้ทำสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น และไม่เรียกการกระทำเช่นนั้นว่า “โกนผมไฟ” แต่อย่างใด
ประเพณีท้องถิ่นนิยม
                ทว่ามุสลิมบางกลุ่มกลับทำพิธีกรรมโกนผมไฟของพุทธกับอิสลามรวมเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน โดยเชิญโต๊ะอิมาม หรือโต๊ะครูพร้อมกับโต๊ะละแบมาทำพิธีกรรมให้แก่ทารกแรกคลอด พวกเขานำทารากมาวางไว้ข้างหน้าโต๊ะอิมาม หรือโต๊ะครู จากนั้นพวกเขาก็ขอดุอาอ์ (ไม่ขอระบุในที่นี้ หากต้องการทราบดุอาอ์ดังกล่าว ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ “โยมมุสลิม นั่น..ศาสนาอาตมา” เขียนโดยอาจารย์มุรีด ทิมะเสน)
                ครั้นอ่านจบโต๊ะอมามก็เริ่มตัดผมทารก จากนั้นก็เวียนให้บรรดาโต๊ะละแบตัดผมทารกจนกระทั่งครบทุกคน โดยก่อนตัดผมทารก ผู้ตัดก็จะเป่าที่ศีรษะทารกจากนั้นก็อ่านดุอาอ์ (ไม่ขอระบุในที่นี้ หากต้องการทราบดุอาอ์ดังกล่าว ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ “โยมมุสลิม นั่น..ศาสนาอาตมา” เขียนโดยอาจารย์มุรีด ทิมะเสน)
                พิธีกรรมของมุสลิมบางกลุ่มว่าด้วยเรื่องการตัดผมทารกไม่แตกต่างจากพิธีกรรมของชาวพุทธสักเท่าใด แต่ที่เห็นจะแตกต่างกันก็คงเรื่องวิงวอนกันคนละภาษา ซึ่งพระก็สดชยันโต ใช้ภาษาบาลีสันสกฤต ส่วนโต๊ะละแบวิงวอนเป็นภาษาอฺรับที่ล้วนคิดและเรียบเรียงกันขึ้นมาเองทั้งสิ้น
                สรุป การทำพิธีกรรมของมุสลิมบางกลุ่มโดยทำพิธีกรรมอ่านดุอาอ์ โดยให้โต๊ะครู โต๊ะอิมามตัดเส้นผมของทารกบางส่วนก่อนเพื่อความจำเริญ จากนั้นก็เวียนทารกให้โต๊ะละแบตัดคนละนิดละหน่อย ซึ่งการกระทำเช่นนั้นไม่มีแบบฉบับจากท่านนบี ทว่าท่านนบีระบุให้โกนศีรษะทารกทั้งหมดไม่ใช่ตัดเส้นผมบางส่วน ยิ่งไปกว่านั้นการกระทำเช่นนั้นคล้ายๆ กับการโกนผมไฟของชาวพุทธ ที่เชิญพระสงฆ์มาทำพิธีให้แก่ทารกของตน โดยพระสงฆ์จะวางมีดโกนบนศีรษะของทารกก็ถือว่ามีสิริมงคลแล้ว มุสลิมที่กระทำเช่นนั้นก็เชื่อว่าเชิญโต๊ะละแบมาทำพิธีให้แก่ลูกหลานของตนเพื่อมีสิริมงคล (บะเราะกะฮฺ) เหมือนกัน

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

http://muslimhotreport.blogspot.com

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ภรรยา (มืออาชีพ) บทส่งท้าย

ผู้หญิงบางคนเป็นคู่ครองได้ แต่เป็นภรรยาไม่ได้
บ้างก็เป็นภรรยาได้อย่างเดียว แต่เป็นคู่ครองแทบไม่ได้
แต่สำหรับภรรยามืออาชีพแล้ว
ต้องเป็นทั้งภรรยาที่ดี และเป็นทั้งคู่ครองที่ประเสริฐด้วย

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

http://muslimhotreport.blogspot.com

ภรรยา (มืออาชีพ) ไม่อนุญาตให้ชายอื่นเข้าบ้านขณะสามีไม่อยู่

อิสลามคือศาสนาแห่งการป้องกัน มีความละเอียดอ่อนโดยแท้ แม้กระทั่งคำสอนที่เกี่ยวข้องกับการต้อนรับแขกผู้มาเยือนก็ยังรัดกุมและรอบคอบ การอนุญาตให้ชายอื่น (ที่แต่งงานกับนางได้) เข้าบ้านในขณะที่นางอยู่คนเดียวโดยไม่มีสามีของนางอยู่ด้วยนั้น ย่อมทำให้เกิดฟิตนะฮฺ (ความเดือดร้อน, วุ่นวาย) โดยฟิตนะฮฺจะเกิดกับสตรีที่สามีของนางไม่อยู่ในบ้าน จะเกิดกับชายที่เข้าไปในบ้านของนางและก็จะเกิดกับสามีของนางอีกด้วย เพราะชาวบ้านหรือผู้พบเห็นจะคาดเดาและนอนทาไปต่างๆ นานา ซึ่งฟิตนะฮฺจะกระจายไปทุกหัวระแหงด้วยเหตุนี้แหละ อิสลามจึงป้องกันไว้ก่อนโดยห้ามภรรยาอนุญาตให้ชายอื่นเข้าบ้านใขณะที่สามีของนางไม่อยู่ ไม่ว่านางจะถูกหว่านล้อม หรือคะยั้นคะยอเพียงใด นางก็ต้องยืนกรานอย่างหนักแหน่นว่าไม่อนุญาตให้เข้าบ้าน ให้มาวันหลัง หรือฝากเบอร์โทรศัพท์ไว้ หากสามีกลับบ้านจะบอกให้เขาทราบ ทรานรสูลุลลอฮฺ ซล. กล่าวว่า “และภรรยาจะต้องไม่อนุญาตให้ (ชายใด) เข้าบ้านของสามี นอกจากจะได้รับอนุญาตจากสามีเสียก่อน”
ในขณะเดียวกัน ผู้ชายที่รู้ว่าสามีของนางไม่อยู่ในบ้านหลังนั้นโดยมารยาทแล้วจะต้องขอตัวกลับทันที ไม่ใช่คะยั้นคะยอเพื่อจะเข้าไปภายในบ้านของนางให้ได้ เห็นหรือไม่ว่าอิสลามคือศาสนาแห่งการป้องกันฟิตนะฮฺที่จะเกิดขึ้นในสังคมได้เป็นอย่างดี อิสลามมิได้สอนให้แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่จะสอนให้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อิสลามสอนให้ออกห่างการทำซินา ไม่ใช่สอนว่าทำซินาแล้วจะแก้ไขอย่างไร? และสำหรับภรรยาระดับมืออาชีพแล้ว จะต้องตระหนักและรัดกุมในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสามีของตน วันแรกที่สตรีได้ชื่อว่าเป็นภรรยา นั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะทำให้ตนเองเป็นภรรยาที่ดีของสามี หรือเป็นภรรยาตามนัยยะแห่งบัญญัติของพระเจ้า แต่ภรรยา (มืออาชีพ) ทุกคนย่อมบอกกับตนเองอยู่เสมอว่า แม้ว่าการเป็นภรรยาตามนัยยะของศาสนาจะยากเย็นเพียงใด แต่ไม่เหลือบ่ากว่าแรงหากภรรยาทุกคนตั้งใจจริงพร้อมลงมือปฏิบติอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

http://muslimhotreport.blogspot.com

ภรรยา (มืออาชีพ) ต้องหลีกเลี่ยงข้อพกพร่องของสามี

ผู้อ่านคงไม่ปฏิเสธว่า มนุษย์ทุกคนมีความผิดหรือมีบาปด้วยกันทั้งสิ้น (ยกเว้นท่านนบีมุหัมมัด ซล.) เพียงแต่จะมีบาปมากหรือน้อยหรือบาปเล็กบาปใหญ่เท่านั้นเอง เมื่อไม่มีมนุษย์คนใดไม่มีบาปหรือไม่มีข้อผิดพลาด ซึ่งเป็นสัจธรรมที่ทุกคนต้องยอมรับโดยดุษณี จึงทำให้ตนเองมองผู้อื่นเยี่ยงการมองตัวเราเองด้วยเหมือนกัน กล่าวคือ ภรรยาเองก็มีความผิด แต่ทำไมภรรยาหลายๆ คนกลับมุ่งจดจำเฉพาะความผิดของสามีได้อย่างแม่นยำ แล้วนำกลับมาทบทวนซ้ำแล้วซ้ำอีกถึงความผิดของสามี ยิ่งทะเลาะกับสามีเมื่อไรก็นำข้อผิดพลาดของสามีมาเปิดประเด็นเมื่อนั้น พฤติกรรมดังกล่าวไม่ฉลาดเลยหากอยู่ในตัวตนของภรรยา อิสลามมีทางออกให้กับชีวิตคู่เสมอ ท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. กล่าวว่า “สามีอย่ารังเกียจภรรยา หากเขารังเกียจภรรยาด้วยนิสัยหนึ่ง (เช่นนี้ให้) เขาพอใจนิสัยอื่นของนางเถิด”
ภรรยา (มือสมัครเล่น) มักจะเปิดประเด็นการไม่พอใจ หรือการโต้เถียงด้วยข้อผิดพลาดของสามี ด้วยข้อด้อยของสามีอยู่เสมอ อาทิเช่น สามีเป็นคนขี้ลืมเอามากๆ วันหนึ่งภรรยาบอกให้สามีช่วยตัดหญ้าหน้าบ้านให้หน่อย สามีก็รับปากว่าจะตัดหญ้าให้ช่วงเย็นให้สุดท้ายสามีก็ลืมตัดหญ้า เท่านั้นแหละภรรยา (มือสมัครเล่น) ก็โจมตีสามีด้วยการต่อว่าต่างๆ นานา เช่น “เห็นมั๊ยนิสัยขี้ลืมไม่เปลี่ยนเลย” หรืออาจจะพูดว่า “ขอร้องเถอะอ้ายนิสัยขี้ลืมเนี่ยขายเท่าไร?” ทำนองนี้เป็นต้น
ส่วนภรรยา (มืออาชีพ) จะไม่ใช้คำพูดเช่นนั้น เพราะนางรู้ดีว่าสามีเป็นคนขี้ลืม นางยอมรับ ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรกที่ลืม นิสัยขี้ลืมของสามีไม่ใช่อุปสรรคหรือเป็นเหตุที่ทำให้ภรรยาต้องโกรธสามี เพราะเขายังมีนิสัยที่ดีๆ อีกมาก อาทิเช่น สามีเป็นคนเคร่งครัดในเรื่องนมาซ นมาซตรงเวลาหรือเขาเป็นคนใจเย็น เป็นต้น
หากภรรยาต้องการอยู่ร่วมกับสามีอย่างมีความสุขในชีวิตคู่โปรดมองข้ามนิสัยที่ไม่ดีของสามีเถิด และหันไปนึกถึงนิสัยที่ดีๆ ของเขาเพราะเรื่องนิสัยของแต่ละคน หรือเรียกอีกอย่างคือเป็นสันดานนั้นเปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก หรือเปลี่ยงแปลงไม่ได้เลย ประหนึ่งว่า หากมีบุคคลหนึ่งกล่าวว่า เขาสามารถย้ายภูเขาลูกนี้ให้เคลื่อนมาทางนี้ยังพอเชื่อได้ว่าอาจจะทำได้ แต่ถ้ามีบุคคลหนึ่งกล่าวว่า เขาสามารถเปลี่ยนแปลงนิสัย (สันดาน) ของเขาได้ อันนี้คงเชื่อไม่ได้หรอก ดังคำโบราณว่า “สันดอนขุดได้ แต่สันดานขุดไม่ได้” ฉันนั้น

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

http://muslimhotreport.blogspot.com

ภรรยา (มืออาชีพ) ต้องสร้างความพึงพอใจให้แก่สามี

หากจะกล่าวถึงชีวิตคู่คงปฏิเสธไม่กล่าวถึงการสร้างความรักความพึงพอใจให้ระหว่างบุคคลทั้งสองคนไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามีภรรยาที่อยู่ด้วยกันมาหลายปีย่อมจะต้องกระทบกระทั่งกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือ ภรรยาสร้างความพึงพอใจให้แก่สามีอยู่เนืองๆ จนสามีรู้สึกถึงความปิติ ความสุขในชีวิตคู่ของตน แนวทางการครองเรือนนี้ภรรยา (มือสมัครเล่น) มองข้ามและไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าที่ควรนัก ไม่รู้ว่าเป็นเพราะสาเหตุใดเหมือนกัน ลองพิจารณาหลักคำสอบของอิสลามดูก็ได้ว่า “ครั้งหนึ่งท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. เห็นสตรีท่านหนึ่ง จากนั้นท่านรสูลก็กลับมาหาภรรยาของท่านคือ ท่านหญิงซัยนับ ซึ่งขณะนั้นนางกำลังถูแผ่นหนังที่ถูกฟอกอยู่ แล้วท่านรสูลก็ร่วมธุระกับนาง (หมายถึงร่วมหลับนอนกัน)”
ภรรยา (มืออาชีพ) เห็นหรือไม่ว่า ท่านหญิงซัยนันซึ่งเป็นภรรยาคนหนึ่งของท่านนบีมุหัมมัด ซล. กำลังถูแห่นหนัง (ที่ถูกฟอก) อยู่ที่บ้านพิจารณาดูเถิดว่านางกำลังทำงานของนางในสภาพที่ต้องรีบทำงานนั้นให้เสร็จ แต่พอท่านนบีมุหัมมัด ซล. ปรารถนาที่จะร่วมหลับนอนกับนาง นางซัยนับมิได้อ้อยอิ่งหรือบ่ายเบี่ยงว่า ยังไม่พร้อมกำลังทำงานอยู่ หรือกำลังยุ่งอยู่กับงาน รอให้เสร็จงานก็แล้วกัน ท่านหญิงซัยนับไม่บ่ายเบี่ยงแต่ยินดีที่จะปรนนิบัติสามีสุดที่รักของนาง แม้ว่านางจะอยู่ในสภาพใดก็ตามเถอะ แต่การเอกอกเอาใจสามีนั้นคือความสุดยอดที่อยู่ในจิตสำนึกของภรรยา (มืออาชีพ) ทุกคนอยู่แล้ว
อีกตัวอย่างหนึ่งของการเอาอกเอาใจสามี ท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. กล่าวว่า  “เมื่อสามีเรียกภรรยาเพื่อร่วมหลับนอนกับนาง แต่นางบ่ายเบี่ยง (ปฏิเสธการเชิญชวนของสามี), (การกระทำข้างต้นส่งผลทำให้) สามีนอนในสภาพที่โกรธเคืองนาง เช่นนี้มลาอีกะฮฺ (ทูตสวรรค์) จะสาปแช่ง นางจนกระทั่งรุ่งเช้า”
นี่คือสัจธรรมของชีวิตจริงๆ ผู้อ่านเคยพบแนวทางอื่นสอนเช่นนี้หรือไม่? คำตอบที่ได้คงไม่พบหรอก ยกเว้นอิสลามเท่านั้นที่สอนแนวทางแห่งการเอาใจสามีของภรรยา นั้นคือสิ่งสุดยอดสำหรับบรรดาภรรยาทุกคนที่จะเพิกเฉยหรือละเลยไม่ได้ จริงอยู่ บางครั้งภรรยาอาจจะไม่มีอารมณ์ทางเพศ แต่สามีกำลังมีอารมณ์ทางเพศ เช่นนี้ภรรยาจะต้องแสดงออกถึงความยินดีจะร่วมหลับนอนกับสามี เพราะนั่นคือหน้าที่ของภรรยาว่าด้วยการเอาอกเอาใจเขานั่นเอง ทว่า หากภรรยาคนใดไม่พร้อม หรือมีสาเหตุจำเป็นก็อธิบายให้แก่สามีได้ฟังด้วยเหตุด้วยผล สามีจะได้ไม่โกรธ ตัวอย่างเช่น ตนเองไม่ค่อยสบาย หรือวันนี้ทำงานบ้านเหนื่อยมาก ต้องการพักผ่อน เอาไว้พรุ่งนี้ก็แล้วกัน ทำนองนี้เป็นต้น เพราะหากสามีโกรธภายหลังภรรยาปฏิเสธการร่วมหลับนอนกับตน จะส่งผลทำให้มลาอิกะฮฺขออุดาสาปแช่งแก่ภรรยาผู้นั้น
อีกตัวอย่างหนึ่ง ท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. กล่าวว่า “ไม่อนุญาตให้พรรยาถือศีลอด (สุนนะฮฺ) ขณะสามีของนางอยู่ (บ้าน) นอกจากจะได้รับอนุญาติจากสามีเสียก่อน (ส่วนกรณีการศีลอดฟัรฺฎูไม่ต้องขออนุญาตจากสามี)”
ด้วยหลักแห่งการเอาอกเอาใจสามีนี่เอง ศาสนายังระบุไว้ด้วยว่าแม้ภรรยาตั้งใจจะถือศีลอดสุนนะฮฺ แต่วันนั้นสามีไม่ไปทำงาน ถึงแม้ว่านางตั้งใจไว้แล้วก็เถอะ แต่ศาสนาก็สั่งใช้ให้ไปขออนุญาตสามีก่อนเพราะอะไรจึงทำเช่นนั้น? ก็เพราะวันนั้นภรรยะได้เอาอกเอาใจสามีอย่างเต็มที่ ซึ่งก็คงไม่มีบุคคลใดทราบได้ว่า บางครั้งการเอาอกเอาใจสามีทำให้เขามีความต้องการร่วมหลับนอนด้วย หากนางถือศีลอดอยู่ก็จะเป็นอุปสรรคยับยั้งการร่วมหลับนอนของบุคคลทั้งสอง นี่แหละคืออิสลาม วันนี้ภรรยา (มืออาชีพ) ไม่เอาอกเอาใจสามีคงไม่ได้แล้ว ซึ่งหากภรรยาคนใดไม่ให้ความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าว ภรรยาผู้นั้นถูกลดตำแหน่งเหลือเพียง “ภรรยามือสมัครเล่น” คงไม่ดีเป็นแน่

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

http://muslimhotreport.blogspot.com

ภรรยา (มืออาชีพ) พยายามหลีกเลี่ยงการโต้เถียงสามี

ภรรยา (มือสมัครเล่น) หลายคนลืมประเด็นสำคัญประการหนึ่งในชีวิตคู่ไปอย่างน่าเสียดาย จริงอยู่ แม้ว่าสตรีบางคนอาจจะพูดมาก หรือสตรีบางคนชอบโต้เถียงเป็นชีวิตจิตใจ แต่ทั้งหลายทั้งปวงจะต้องไม่ใช่คุณลักษณะของภรรยา (มืออาชีพ) บุคคลที่อยู่ในระดับมืออาชีพจะต้องได้รับการพัฒนาที่มากกว่าบุคคลทั่วไป บางครั้งนางอาจจะโต้เถียงกับบุคคลอื่นด้วยเหตุด้วยผล หรือเป็นการโต้เถียงในเรื่องงานที่ทำ ซึ่งต้องลงเอยด้วยการหาข้อสรุป เช่นนี้จำเป็นนางจะต้องโต้เถียงเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด
แต่การโต้เถียงเดียวที่ไม่เคยมีใครมอบใบประกาศเกียรติคุณหรือโล่ห์รางวัลเลยแม้แต่ครั้งเดียว นั่นคือ การโต้เถียงกันระหว่าสามีภรรยา ซึ่งส่วนใหญ่มักจะลงเอยด้วยการทะเลาะเสมอ ไม่มีความจำเป็นที่ภรรยาจะต้องตั้งป้อมโต้เถียงกับสามีอย่างเมามัน หรือเอาเป็นเอาตายเพราะสามีไม่ใช่ศัตรู แต่เป็นบุคคลที่ศาสนาให้เกียรติจนกระทั่งว่าหากจะให้มีการสุญูดกับมนุษย์ด้วยกัน สามีนี้แหละจะใช้ให้ถูกสุญูดเช่นนั้นแล้ว หากมีการโต้เถียงกับสามีจริงๆ ภรรยา (มืออาชีพ) จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ หรือมิฉะนั้นก็ต้องใช้วาจาและสำนวนในการพูดที่สุภาพ และให้เกียรติ เพื่อลดเพดานแห่งความรุนแรง สุดท้าย เมื่อภรรยาพิจารณาแล้วว่าความสุภาพและการใช้ภาษาที่นุ่มนวลไม่สามารถเกิดประโยชน์ได้ ภรรยา (มืออาชีพ) ต้องยุติการโต้เถียงทันที หรือเป็นฝ่ายยอมรับผิดในเรื่องที่โต้เถียงอยู่ แม้ว่าภรรยาจะไม่ผิดก็ตาม นั่นคือทางออกของปัญหาทั้งหมด ท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. กล่าวไว้ว่า “ฉันรับประกันบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่รอบๆ สวรรค์ สำหรับบุคคลที่ละทิ้งการโต้เถียง ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นสัจจริงก็ตาม”
ด้วยเหตุที่ภรรยา (มืออาชีพ) แก้ไขปัญหาด้วยการหลีกเลี่ยงการโต้เถียง รางวัลที่นางจะได้รับก็คือบรรยากาศแห่งความสงบ ซึ่งจะบังเกิดขึ้นทันที ส่วนความโกรธ ความโมโหก็อันตรธานไปโดยอัตโนมัติจึงขอย้ำว่า ภรรยา (มืออาชีพ) ต้องนึกเสมอว่า “การยอมยุติไม่โต้เถียงสามี นั่นคือชัยชนะของภรรยา”

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

http://muslimhotreport.blogspot.com

ภรรยา (มืออาชีพ) จะไม่ออกนอกบ้าน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากสามี

ยุคแห่งการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูงนี่เอง จึงทำให้สามีและภรรยาหลายคู่ต้องออกนอกบ้านเพื่อแสวงหาปัจจัยยังชีพ ศาสนาก็อนุญาตให้ภรรยาออกทำงานนอกบ้าน หากถึงคราวจำเป็น แต่ที่ดีที่สุดการอยู่บ้านของภรรยานั้นถือว่าประเสริฐกว่าดังที่พระองค์อัลลอฮฺ ซล. ทรงตรัสไว้ว่า “และจงอยู่ในบ้านเรือนของพวกนาง และอย่าโอ้อวดความงาม เฉกเช่นการอวดความงาม (ของบรรดาสตรี) ในสมัยแรกแห่งยุค (แห่งความ) โง่เขลา”
อายะฮฺข้างต้นชี้ให้เห็นว่า หากบรรดาภรรยาทำงานนอกบ้านกับอยู่ที่บ้าน การอยู่ที่บ้านถือว่าดีกว่า แต่ถ้ามีความจำเป็นเช่นนี้ ศาสนาก็อนุญาตให้ออกไปทำงานนอกบ้านได้ แต่มีเงื่อนไขว่า นางจะต้องขออนุญาตสามีเสียก่อน ครั้นเมื่อสามีอนุญาตให้ไปทำงานนอกบ้านได้เงื่อนไขต่อมาคือ นางจะต้องลดสายตาลงต่ำ, ไม่แต่งตัวดึงดูดเพศตรงข้ามและรักษาสิ่งพึงสงวนของนาง ดังที่อัลลอฮฺ ซบ. กล่าวไว้ว่า “จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) แก่บรรดาหญิงผู้ศรัทธา ให้พวกนางลดสายตาของพวกนางลงต่ำ และให้พวกนางรักษาอวัยวะเพศของนาง และอย่าเปิดเผยเครื่องประดับของพวกนาง เว้นแต่สิ่งที่เปิดเผยได้เท่านั้น”
มีชายผู้หนึ่งถามท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. ว่า พรรยาลักษณะแบบไหนดีที่สุด? ท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. กล่าวตอบว่า “ภรรยาที่ดีคือ เมื่อท่านมองนาง ท่านพึงพอใจนาง, เมื่อท่านสั่งใช้นาง นางเชื่อฟังท่าน และเมื่อท่านอยู่หลับหลังนาง นางก็รักษาตัวของนาง และรักษาทรัพย์สินของท่าน”
แต่ประเด็นที่ต้องการจะเน้นคือ การขออนุญาตสามีเมื่อภรรยาต้องการออกนอกบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกนอกบ้านที่ไม่ใช่กระทำเป็นกิจวัตรประจำวัน หรือในกรณีที่ภรรยาต้องออกนอกบ้านเพื่อทำธุระอย่างอื่น เช่นนี้ก็ต้องขออนุญาตกับสามี อาทิเช่น ภรรยาต้องการไปซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า หรือต้องการไปเยี่ยมญาติเป็นต้น ส่วนการออกนอกบ้านตามปกติ เช่นการไปจ่ายตลาด ซึ่งต้องไปทุกวันอยู่แล้ว ก็ให้บอกกับสามีเพียงครั้งเดียวก็พอ
ประเด็นต่อมา เมื่อภรรยาขออนุญาตต่อสามีเพื่อออกนอกบ้าน สามีเองก็มีสิทธิ์พิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต  เช่นบางสถานที่นั้น หากนางไปคนเดียวจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายและทรัพย์สิน สามีก็มีสิทธิ์ที่จะไม่อนุญาตให้นางไปสถานที่แห่งนั้นก็ได้หรือถ้าจะไปสามีก็ต้องไปด้วย
ส่วนทว่ากรณีภรรยาขออนุญาตสามีเพื่อไปนมาซที่มัสญิด เช่นนี้บัญญัติศาสนาระบุให้สามีต้องอนุญาตนาง อย่าห้ามนาง ดังที่ท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. เคยกล่าวไว้ว่า  “ครั้นเมื่อภรรยาขออนุญาตบุคคลหนึ่งในหมู่พวกท่าน (หมายถึง สามี) เพื่อไปมัสญิด เช่นนั้น เขาจงอย่าห้ามนาง (ไม่ให้ไปมัสญิด)”

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

http://muslimhotreport.blogspot.com

ภรรยา (มืออาชีพ) ต้องแสดงความรักเมื่ออยู่สามี

การแสดงความรักเมื่อภรรยาอยู่สามี ย่อมส่งผลดีไม่น้อยต่กการใช้ชีวิตคู่ของบุคคลสองคน อีกทั้งยังสร้างบรรยากาศแห่งความหอมหวาน ความสดชื่น และความผูกพันอันแน่นแฟ้น ทว่า การแสดงความรักกับสามีนั้น ภรรยาสามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวาจา ท่าทาง หรือแม้กระทั่งการสัมผัส ล้วนแสดงออกถึงการแสดงความรักของภรรยาที่มีต่อสามีได้ทั้งสิ้น ดังตัวอย่างของเหล่ามิตรสหายร่วมศรัทธา (บรรดาเศาะหาบะฮฺ) ของท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. โดยท่านยะหฺยา บุตรของสะอีดเล่าว่า “นางอาติกะหฺ บุตรสาวของท่านญะซีด บุตรญะซีด บุตรของอัมรฺ บุตรของนุฟัยล์ ซึ่ง (นางเป็นภรรยาของท่านอุมัรฺ บุตรของค็อฏฏอบเคยจูบศีรษะของท่านอุมัรฺ บุตรของค็อฏฏอบในขณะที่เขาถือศีลอด โดยเขา (อุมัรฺ) ก็มิได้ห้ามนางแต่อย่างใด”
การแสดงความรักของภรรยาให้แก่สามีนั้นไม่มีขีดจำกัดจริงๆ ในปัจจุบันคงไม่ค่อยเห็นภาพสามีภรรยาแสดงความรักกันเฉกเช่นบรรดาเศาะหาบะฮฺในอดีต กรณีที่ภรรยาหอมศีรษะ หรือจูบหน้าผากของสามี เป็นเรื่องที่ภรรยาสามารถแสดงออกซึ่งความรักให้แก่สามีได้อย่างไม่ต้องสงสัย ภรรยา (มือสมัครเล่น) บางคนอาจจะอายเมื่อต้องการจะแสดงความรักต่อสามี ทำไมต้องอาย? ในเมื่อการแสดงความรักรู้กันเพียงสองคนเท่านั้น บางครั้งสิ่งที่ศาสนาสนับสนุนให้กระทำภรรยา (มือสมัครเล่น) กลับปฏิเสธที่จะกระทำแต่บางเรื่องที่ศาสนาไม่อนุมัติให้กระทำ ภรรยา (มือสมัครเล่น) ส่วนใหญ่ก็กระทำกันหน้าเฉยไม่รู้สึกละอาย อาทิเช่น การนินทา, การซื้อหวยหรือเปิดเผยเอาเราะฮฺ เป็นต้น
แสดงความรักให้สามีของตนเองเห็นเถิดว่า เรารักเขา พอใจและเต็มใจจะสร้างความรัก ความผูกพันเช่นนั้นตลอดไป บางครั้งภรรยาต้องรบเร้าสามีให้พาไปเที่ยวต่างจังหวัดบ้าง ไปนอนโรงแรม หรือบ้านพักที่มีโอกาศสร้างความสุขให้กันและกัน ก็จงทำเถิด เพราะเมื่อมีโอกาสสร้างความรักให้กันและกันไม่มีคำว่า “สาย” หรือไม่มีคำว่า “เดี๋ยว” ทุกครั้งเมื่อมีโอกาสอย่าปล่อยให้โอกาสนั้นหลุดลอยไป “หากจะแสดงความรักให้แก่สามี ไม่มีเดี๋ยว”

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

http://muslimhotreport.blogspot.com

ภรรยา (มืออาชีพ) ทำให้ร่างกายสดชื่อเมื่ออยู่กับสามี

หลักการอิสลามไม่อนุญาตโดยเด็ดขาด ที่จะให้สตรีทำร่างกายให้สดชื่อ, มีกลิ่นหอมเมื่ออยู่ต่อหน้าหรือปะปนกับเพศตรงข้ามที่แต่งงานกับนางได้ หากสตรีคนใดฝ่าฝืน อิสลามระบุว่าประหนึ่งนางทำซินาแล้ว (หมายถึงการละเมิดประเวณี) ท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. กล่าวว่า “ทุกๆ ดวงตาทำซินา (ได้เช่นกัน) สตรีเมื่อปะพรมน้ำหอม และนางก็เดินผ่านวงสนทนา เช่นนั้น (ถือว่า) นางเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ หมายถึง นางทำซินา (ละเมิดประเวณี) แล้ว”
อิสลามไม่ได้พิจารณาอะไรเพียงจุดเดียว แต่อิสลามจะมองสิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบ เป็นการป้องกัน และยังห้ามสื่อต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อความผิดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย ตัวอย่างเช่น อิสลามมิได้ห้ามเฉพาะการร่วมเพศกับสตรีซึ่งยังมิได้แต่งงาน (นิกาหฺ) กันอย่างถูกต้องเท่านั้น แต่ยังห้ามสื่อต่างๆ ที่จะนำไปสู่การทำซินา ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัวที่ไม่ปกปิดเอาเราะฮฺ หรือการปะพรมน้ำหอมของสตรี เพราะนั่นเป็นสื่อยั่วยวนเพศตรงข้าม ลำพังการมองหน้าเพศตรงข้ามก็แย่แล้ว ยิ่งได้กลิ่นน้ำหอมจากนางอีก โสตประสาททางเพศก็ถูกกระตุ้นโดยอัตโนมัติ ฉะนั้น อิสลามจึงห้ามการปะพรมน้ำหอมของสตรีเมื่ออยู่ต่อหน้าเพศตรงข้ามที่แต่งงานกับนางได้นั่งเอง
อนึ่ง กรณีภรรยาอยู่กับสามีของนาง เช่นนี้ศาสนาส่งเสริมให้ปะพรมของหอม หรือทำตัวให้สะอาดหมดจด ทำให้ร่างกายสดชื่ออยู่ตลอดเวลา เพราะการทำเช่นนั้นเป็นหน้าที่ของภรรยาอยู่แล้ว อีกทั้งยังทำให้สามีเกิดความสดชื่อน และกระตุ้นความสิเน่หาให้กับบุคคลทั้งสองต่อการใช้ชีวิตร่วมกัน แม้ว่าจะแต่งงานกันมาหลายปีแล้วก็ตามแต่ความรัก ความสดชื่นได้ถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลาไม่เสื่อมคลาย ภรรยา (มือสมัครเล่น) หลายคนเข้าใจผิด และคิดผิดอย่างไม่น่าให้อภัย ก็เพราะพวกนางมักจะแต่งตัวให้งดงาม ทำตัวให้สดใสเมื่อออกนอกบ้าน หรือเมื่อออกไปงานมัสญิด หรืองานแต่งงานเท่านั้นแต่งตัวไปอวดคนอื่น ซึ่งก็อาจมีบางคนชื่นชมนางก็ได้ แต่ในทางกลับกัน นางไม่เคยแต่งตัวให้สดชื่นเมื่ออยู่กับสามีของนางเลย แต่สำหรับภรรยา (มืออาชีพ) ไม่ทำเช่นนั้น ทุกครั้งที่มีโอกาสนางจะทำทุกวิถีทางเพื่อทำให้สามีสดชื่นและสุขใจเมื่ออยู่กับนาง หากวันใดที่สามีของนางต้องเดินทางไปทำธุระหลายวัน เมื่อกลับมาถึงบ้าน นางก็จะอาบน้ำอาบท่า แต่งตัว ประพรมน้ำหอม ทำตัวให้สดชื่นเพื่อต้อนรับสามีสุดที่รักกลับมา บรรยากาศเช่นนี้ บรรดาภรรยาของท่านนบีมุหัมหัด ซล. ก็เคยกระทำ อีกทั้งท่านนบี ซล. ยังสั่งให้ภรรยาปฏิบัติเช่นนั้น ผู้อ่านลองตรองดูเถิดว่า หากภรรยาทำเช่นนั้นกับสามี สามีก็อยากกลับถึงบ้านเร็ว อยากอยู่ใกล้ๆ กับภรรยาของตน โดยเฉพาะเรื่องมีกิ๊ก หรือนอกใจไม่ต้องพูดถึง เพราะเป็นภรรยา (มืออาชีพ) เสียอย่าง สบายไปแปดอย่าง

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

http://muslimhotreport.blogspot.com

ภรรยา (มืออาชีพ) ต้องป้องกันเกียรติยศและรักษาชื่อเสียงของสามี

ภรรยาหลายคนมักหลงลืมประเด็นการป้องกันเกียรติยศ และรักษาชื่อเสียงของสามี ภรรยาหลายคนทำลายเกียรติยศและศักดิ์ศรีของสามีทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่น่าอัปยศที่สุดเพราะเกียรติยศและศักดิ์ศรีของสามีนั้น เป็นหน้าที่ของภรรยาทุกคนจำเป็นจะต้องรักษาเอาไว้ อย่าเผลอเรอโดยเด็ดขาด มิเช่นนั้นแล้วบุคคลที่ทำลายเกียรติยศของสามีอาจเป็นภรรยาของเขาเองก็ได้
พระองค์อัลลอฮฺ ซบ. ทรงตรัวไว้ว่า “และด้วยสิ่งที่พวกเขาได้ให้จ่ายทรัพย์สินของพวกเขา บรรดาสตรีนั้นคือผู้จงรักภักดีผู้รักษาในทุกๆ สิ่งที่อยู่ลับหลังสามีต่อสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺทรงรักษาไว้”
น่าเสียดายว่า สิ่งสำคัญเช่นนี้ภรรยาหลายคนกับเพิกเฉยไปเสียฉิบ ยิ่งในยุคปัจจุบัน ภรรยาบางคนไม่ปกป้องศักดิ์ศรีของสามีแล้ว ยังส่งเสริมให้บุคคลอื่นรุมทำลายเกียรติยศของสามีอีก อาทิเช่น ภรรยาออกไปจ่ายตลาด ไปพบกับสตรีคนหนึ่งเล่าให้นางฟังว่า “วันนั้นฉันเห็นสามีของเธอยืนคุยกับผู้หญิงคนหนึ่ง รูปร่างหน้าตาสวย ดูเหมือนสามีของเธอจะพอใจนางอีกด้วย” ถ้าเป็นภรรยา (มือสมัครเล่น) ก็จะกล่าวตอบทันทีว่า “นึกอยู่แล้วอ้ายแก่ เห็นโทรศัพท์อยู่บ่อยๆ ไม่รู้ว่าไปมีกิ๊กที่ไหน สงสัยเป็นนางคนนั้นแน่ๆ” ผู้อ่านลองตรองดูเถิดว่าคู่สนทนาที่ยืนฟังอยู่จะคิดอย่างไร? เพราะเรื่องที่เล่ามานั้นจริงหรือไม่จริงก็ยังไม่รู้ แต่ภรรยาของเขาตัดสินใจไปแล้ว และยังทำลายเกียรติสามีของตนเองให้ผู้อื่นได้รับทราบอีก แต่ถ้าเป็นภรรยา (มืออาชีพ) จะตอบกับคู่สนทนาว่า “อันที่จริงสามีของฉันไม่เคยมีพฤติกรรมเช่นนั้นหรอก เพราะเขารู้ศาสนา แต่สตรีที่เธอเห็นอาจจะเป็นญาติพี่น้องของเขาก็ได้ เพราะเขาเคยเล่าให้ฟังว่าเจอญาติของเขาโดยบังเอิญ แต่ไม่เป็นไรฉันจะถามเขาให้อีกทีหนึ่ง”
เห็นหรือไม่ว่า ภรรยา (มืออาชีพ) รักษาเกียรติยศและปกป้องชื่อเสียงของสามีได้อย่างงดงามเพียงใด? ประการแรก เรื่องที่ได้ยินมายังไม่รู้ว่าเรื่องจริงหรือเรื่องเท็จ ประการที่สอง เมื่อไม่รู้ว่าเรื่องจริงหรือเรื่องเท็จ ภรรยาก็ต้องพูดให้เกียรติสามีของเราไว้ก่อน ประการที่สาม หากสมมติว่าเรื่องที่พูดกันเป็นเรื่องจริง ภรรยา (มืออาชีพ) ก็ต้องอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจว่าต้องตรวจสอบก่อน เป็นต้น
ส่วนเรื่องการรักษาและป้องกันทรัพย์สามี ก็เป็นความรับผิดชอบของภรรยาด้วยเช่นกัน ท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. กล่าวว่า “ภรรยามีหน้าที่รับผิดชอบบ้านของสามี และลูกๆ ของสามี”
คงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ภรรยาจะเพิกเฉย ไม่ใส่ใจดูแลบ้านของสามีและอบรมลูกๆ ของสามี เพราะหากภรรยาคนใดบกพร่อง นางจะต้องได้รับโทษในวันแห่งการตอบแทนด้วย ซึ่งผู้เขียนคิดว่าคงไม่มีภรรยาคนใดพึงพอใจที่จะได้รับโทษจากพระองค์อัลลอฮฺ ซบ. แน่นอน

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

http://muslimhotreport.blogspot.com