วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มัสยิดในประเทศไทย

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี
1.มัสยิดกลางปัตตานี
มัสยิดกลางปัตตานีนับเป็นมัสยิดที่สวยงาม และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นศูนย์รวมจิตใจ และศรัทธาและเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของผู้นับถือศาสนาอิสลามในภาคใต้ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย มัสยิดแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาว่าได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2497 เนื่องจากรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของศาสนาอิสลามซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวปัตตานีส่วนใหญ่นับถืออย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีชาวมุสลิมจำนวนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่สี่จังหวัดภาคใต้ จึงเห็นสมควรให้จัดสร้างมัสยิดขนาดใหญ่ ไว้เพื่อเป็นศูนย์กลางแก่ชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามทั่วประเทศ

มัสยิดแห่งนี้ได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2506 ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สถาปัตยกรรมของมัสยิดกลางนั้น เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น ที่มีรูปทรงดูคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดียผสมกับวิหารแบบตะวันตก มีอาคารยอดโดมขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางและมีโดมบริวารทั้ง 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้างสูงเด่น ซึ่งเดิมใช้เป็นหอกลางสำหรับตีส่งสัญญาณเรียกให้ชาวมุสลิมมาร่วมปฏิบัติศาสนกิจ แต่ปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งลำโพงเครื่องขยายเสียงแทน ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถงมีระเบียงสองข้าง ภายในห้องโถงด้านใน มีบัลลังก์ทรงสูงและแคบเป็นที่สำหรับ “คอฏีบ” ยืนอ่านคุฏบะฮ์การละหมาดในวันศุกร์

ในปัจจุบันมัสยิดกลางปัตตานีได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจสำคัญ คือการละหมาดวันละ 5 เวลา เป็นกิจวัตรประจำวัน และใช้ในการละหมดในวันศุกร์รวมถึงการละหมาดในวันตรุษต่างๆ ซึ่งมีชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ปัตตานีรวมถึงชาวมุสลิมที่มาจากพื้นที่อื่นทั้งในและต่างประเทศมาเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันศุกร์และวันเสาร์ จะมีการบรรยายธรรมะซึ่งมีผู้เข้าร่วมรับฟังกว่า 3,000 คน อันเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในหลักการของศาสนา และเพื่อความถูกต้องในการบำเพ็ญศาสนกิจเป็นประจำทุกสัปดาห์
สถานที่ตั้ง
ถ.ยะรัง ต.อาเนาะรู อ.เมือง จ.ปัตตานี
วันและเวลาเปิด – ปิดเข้าชมได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00 -15.30 น. ยกเว้นวันศุกร์ซึ่งเป็นวันประกอบศาสนกิจละหมาดประจำสับดาห์
สอบถามเพิ่มเติม โทร 0 7333 2402
มัสยิดกลางจังหวัดชลบุรี

2.มัสยิกลางจังหวัดชลบุรีปัจจุบันสภาพเศรฐกิจของจังหวัดชลบุรีได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นกึ่งอุตสาหกรรม ทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ จึงมีประชาชนย้ายภูมิลำเนาเข้ามาอาศัยเพิ่มเป็นจำนวนมาก ทำให้มัสยิดไม่สามารถรองรับกับจำนวนสัปบุรุษที่เพิ่มมากขึ้น คณะกรรมการจึงประชุมปรึกษาหารือและลงมติให้ทำการสร้างอาคารต่อเติมจากอาคารเดิมออกมาอีก กว้าง 12 เมตร ยาว 12 เมตร โดยมีชั้นลอยสำหรับสุภาพสตรีแยกไว้ต่างหาก แล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. 2545 ค่าก่อสร้างประมาณ 2,500,000 (สองล้านห้าแสนบาท ) ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน 3.มัสยิดกลางจังหวัดกระบี่

มัสยิดกลางจังหวัดกระบี่

มัสยิดกลางจังหวัดกระบี่
จังหวัดกระบี่ถือได้ว่าเป็นจังหวัดกลุ่มจังหวัดเศรษฐกิจ และจังหวัดการท่องเที่ยว ซึ่งสัดส่วนประชากรในจังหวัดกระบี่ กว่า 45% เป็นชาวมุสลิม ซึ่งจังหวัดกระบี่ถือได้ว่ามีมัสยิดที่สวยงามอยู่หลากหลาย ในหลายพื้นที่ ทั้งศิลปะยุดเก่าและยุคใหม่
พิกัด E 98 52 42.2
N 8 6 33.4







4.มัสยิดกรือเซะ

มัสยิดกรือเซะ

เป็นมัสยิดเก่าแก่ อายุกว่า 200 ปี สันนิษฐานได้ว่าเป็นศาสนสถาน ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 22 ร่วมสมัยอยุธยา มัสยิดกรือเซะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัสยิดปิตูกรือบัน ชื่อนี้เรียกตามรูปทรงประตูของมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบกอธิคของชาวยุโรป และแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออก






มัสยิดกลางจังหวัดนราธิวาส
5.มัสยิดกลางนราธิวาส
มัสยิดกลางหลังเก่านี้ มีชื่อว่า มัสยิดยุมอียะห์ หรือมัสยิดรายอ ตั้งอยู่ทางเหนือของตัวเมืองห่างจากศาลากลางจังหวัดขึ้นไปตามถนนพิชิตบำรุงก่อนถึงหอนาฬิกาเล็กน้อย เป็นมัสยิดไม้แบบสุมาตราสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 เป็นมัสยิดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนราธิวาส และเป็นที่ตั้งของสุสานเจ้าเมืองเก่า คือ พระยาภูผาภักดี ตามปกติมัสยิดกลางประจำจังหวัดจะมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่เนื่องจากมัสยิดแห่งนี้ค่อนข้างคับแคบ จึงได้มีการสร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้นบริเวณปากแม่น้ำบางนรา อย่างไรก็ตามประชาชนในพื้นที่ยังคงเลื่อมใสศรัทธาในมัสยิดหลังเก่าอยู่ มัสยิดแห่งนี้จึงดำรงฐานะเป็นมัสยิดกลางสืบต่อไป และทำให้นราธิวาสมีมัสยิดกลางประจำจังหวัดด้วยกันถึง 2 แห่ง

6.มัสยิดมูฮายีรีน (ดินแดง)
ประวัติมัสยิด เริ่มแรกมัสยิดมู่ฮายีรีน (ดินแดง) มีอาคารที่พักผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์เป็นอาคารไม้ซึ่งในปัจจุบันก็ยังใช้บริการอยู่ ภายใต้อาคารหลังนี้ ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่อาบน้ำละหมาด เมื่อพี่น้องชาวมุสลิมทราบข่าวว่ามัสยิดมู่ฮายีรีนดินแดง (ดินแดง) มีสถานที่พักให้กับคนเดินทางหยุดพักก่อนจะเดินทางไปสนามบินดอนเมือง เป็นสถานที่ที่มีการสัญจรไปมาสะดวกอยู่ในเส้นทางเดียวกับสนามบินดอนเมืองมีอาหารการกินพร้อมเพียง ทำให้พี่น้องชาวมุสลิมหลั่งไหลเข้ามาพักเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นฮัจยีอับดุลเลาะห์ พุ่มอ่อน ซึ่งขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งอิหม่ามมัสยิด มู่ฮายีรีน จึงคิดสร้างอาคารที่พักหลังใหม่ขึ้นเพื่อได้บริการแก่ผู้มาพักได้อย่างพอเพียง ต่อมาท่านอิหม่ามฮัจยี อับดุลเลาะห์ พุ่มอ่อนท่านได้ลาออกจากตำแหน่งอิหม่ามด้วยความชรา คณะกรรมการมัสยิดมู่ฮายีรีน จึงได้เลือกตั้งอิม่ามคนใหม่ ผลปรากฎว่าฮัจยีสมาน พุ่มอ่อน ซึ่งได้รับตำแหน่งอิหม่ามแทนท่านบิดาด้วยความเป็นเอกฉันท์และท่นอิหม่ามฮัจยีสมานก็ได้สานต่อโครงการจัดสร้างอาคารที่พักด้วยความมุมานะ จากคววามรู้และประสบการณ์ในการบริหารอิหม่ามฮัจยีสมาน ได้เริ่มก่อสร้างโครงการดังกล่าวด้วยเงินงบประมาณเพียง 98,000 บาท แต่การก่อสร้างก็ได้ก้าวหน้าไปอย่างฉับไว และเมื่อผลงานได้ประจักษ์แก่สาธารณชน ทำให้พี่น้องมุสลิมหลั่งไหลเข้ามาบริจาคเป็นจำนวนมาก

มัสยิดกลางจังหวัดสตูล
 7.มัสยิดกลางจังหวัดสตูล
ดังนั้นฮัจยีอับดุลเลาะห์ พุ่มอ่อน ซึ่งขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งอิหม่ามมัสยิด มู่ฮายีรีน จึงคิดสร้างอาคารที่พักหลังใหม่ขึ้นเพื่อได้บริการแก่ผู้มาพักได้อย่างพอเพียง ต่อมาท่านอิหม่ามฮัจยี อับดุลเลาะห์ พุ่มอ่อนท่านได้ลาออกจากตำแหน่งอิหม่ามด้วยความชรา คณะกรรมการมัสยิดมู่ฮายีรีน จึงได้เลือกตั้งอิม่ามคนใหม่ ผลปรากฎว่าฮัจยีสมาน พุ่มอ่อน ซึ่งได้รับตำแหน่งอิหม่ามแทนท่านบิดาด้วยความเป็นเอกฉันท์และท่นอิหม่ามฮัจยีสมานก็ได้สานต่อโครงการจัดสร้างอาคารที่พักด้วยความมุมานะ จากคววามรู้และประสบการณ์ในการบริหารอิหม่ามฮัจยีสมาน ได้เริ่มก่อสร้างโครงการดังกล่าวด้วยเงินงบประมาณเพียง 98,000 บาท แต่การก่อสร้างก็ได้ก้าวหน้าไปอย่างฉับไว และเมื่อผลงานได้ประจักษ์แก่สาธารณชน ทำให้พี่น้องมุสลิมหลั่งไหลเข้ามาบริจาคเป็นจำนวนมาก
มัสยิดกลางอำเภอเบตง
8.มัสยิดกลางอำเภอเบตง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล อำเภอเบตง เดิมมัสยิดกลางสร้างด้วยเสาไม้กลม 6 ต้น ใบจาก 6 ลายา ( ตับ ) โต๊ะอีหม่ามคนแรกชื่อ บือดีกา การีม เดิมเป็นคนจังหวัดปัตตานีมาสอนมวยซีละ ต่อมาก็ถึงแก่กรรมแล้วย้ายมัสยิดมายังหมู่บ้านกำปงบือตง ปัจจุบันหมู่บ้านเรียกว่ากำปงตือเย๊าะ โตะอีหม่ามชื่อ ฮัจยีวากือจิ ต่อมาย้ายไปตั้งที่หมู่บ้านกำปงยูรอ ฮัจยี ดาราโอ๊ะเป็นอีหม่าม และฮัจยีดารัง ฮัจดือเร๊ะตามลำดับ แล้วต่อมาย้ายมาอยู่ที่ปัจจุบัน

มัสยิดกลางจังหวัดสงขลา
9.       เมืองสงขลาเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาตั้งแต่ในอดีต ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลสาบสงขลา ในบริเวณที่เป็นอำเภอสทิงพระในปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางการปกครองของดินแดนรอบ ๆ ทะเลสาบสงขลา ในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12–19 มีรูปแบบวัฒนธรรมแบบศรีวิชัย มีการขุดคลองเชื่อมต่อระหว่างตัวเมืองกับทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทย และทำการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวจีนในสมัยราชวงศ์ถัง (ประมาณ พ.ศ. 1201–1450)
มัสยิดกลางจังหวัด พระนครศรีอยุธยา
10. มัสยิดกลางประจำ จ. พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ ต. คลองตะเคียน อ. พระนครศรีอยุธยา โดยมัสยิดกลางแห่งนี้สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2552

8 ความคิดเห็น:

  1. ควรค่าแห่งการอนุรักษ์ให้สืบไป

    ตอบลบ
  2. ขอดุอาให้มีผู้คนเข้าไปละหมาดกันเยอะๆเน้อ มัสยิดเป็นที่ๆปลอดภัยที่สุด

    ตอบลบ
  3. อย่ามัวแต่แข่งกันสร้างมัสยิดที่สวยงามกันนะครับ (สร้างเสร็จแล้วเข้าไปละหมาดกันด้วย)

    ตอบลบ
  4. Come in !! Follow&comment my blog ➡ AnnaFarhan.blogspot.com ⬅ Thanks

    ตอบลบ
  5. Come in !! Follow&comment my blog ➡ AnnaFarhan.blogspot.com ⬅ Thanks

    ตอบลบ
  6. ตอนนี้ทั้งประเทศมีจังหวัดไหนบ้างที่ยังไม่มีมัสยิด

    ตอบลบ
  7. ตอนนี้ทั้งประเทศมีจังหวัดไหนบ้างที่ยังไม่มีมัสยิด

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ31 ธันวาคม 2559 เวลา 12:43

      มีทุกจังหวัดค่ะ เพราะเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนมุสลิม ร่วมทำพิธีกรรมพร้อมกันค่ะ

      ลบ