วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

"อิทธิพลของอิสลามต่อสัมคงไทย" Social Thai need Islamic.

อิทธิพลของอิสลามที่ม่ต่อสังคมไทยนั้นมีเป็นอันมาก โดยเฉพาะในเรื่องการปกครองในเรื่องศิลป การดนตรี แม้แต่การที่เราจะเห็นได้ชัดคือ เครื่องต้นของพระมหากษัตริย์ของไทยนั้น มีอยู่อย่างหนึ่งที่เรียกว่า "ฉลองพระองค์อย่างเทศ" ความจริงฉลองพระองค์อย่างเทศนี้เป็นเสื้อยาวถึงเข่า ซึ่งดั้งเดิมเกิดขึ้นในประเทศอิหร่าน หรือเปอร์เซีย เป็นแห่งแรก แล้วก็ได้มาถึงประเทศไทย ได้รับความนิยมจนกระทั่งยกเป็นเครื่องแบบอย่างหนึ่งของสมเด็จพระมหากษัตริย์ ที่น่าอัศจรรย์คือว่าเครื่องแต่งกายแบบสากลของเรานี่เอง ก็มาจากเสื้อตัวเดียวกันนี้นั่นเอง เสื้อแบบเปอร์เซียนั้นไม่ใช่แต่เผยแพร่ออกมามีผู้นิยมทางภาคตะวันออกของเปอร์เซียเท่านั้น แต่ได้มีผู้นำเอาไปใช้ในทวีปยุโรปและตะวันตก ขึ้นต้นก็เป็นฟลอคโค๊ตของฝรั่งเศษ คือ ฝรั่งใส่ด้วยลักษณะคอปิด ไม่ได้พับคอลงก่อน คอปิดและยาวถึงเข่า

แต่ทีนี้ในยุโรปเป็นประเทศหนาว เพื่อป้องกันความหนาวคนจะต้องเอาขนสัตย์บ้าง ผ้าแพร ผ้าไหมพันคอไว้หนา ๆ เพื่อไม่ให้หนาวคอ การที่จะใส่เสื้อคอปิดก็ไม่สะดวก จึงได้พับคอเสื้อคงมาเป็นอย่างนี้ เพื่อปล่อยที่ไว้พันคอได้มาก ๆ เพราะในสมัยนั้นเรื่องการอุ่นบ้าน เรื่องการต้มน้ำฝังท่อน้ำร้อยไปให้บ้านอบอุ่น การก่อสร้างเพื่อป้องกันความหนาวยังไม่ดี ถึงหน้าหนาวฝรั่งต้องใส่เสื้อหนา ๆ รุ่มร่ามกันอยู่ทั้งวัน ที่มาเปรียบอย่างนี้เพราะเหตุว่าความเจริญของบ้านเมืองเกิดขึ้น บ้านช่องก็อบอุ่นขึ้นกว่าแต่ก่อน ผ้าพันคอก็เหลือเพียงเท่านี้คือ เนคไท ดังที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ส่วนคอเสื้อก็เลยแบะลงไป เพราะแต่ก่อนผ้าพันคอมันใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามฟลอคโค๊ตของฝรั่งก็ยาวแค่เข่า เดี๊ยวนี้ก็ยังใส่กันอยู่ แต่สำคัญแปลงรูปไป ในที่สุดก็เป็นเสื้อสากลอย่างนี้ แต่ว่าในเครื่องต้นของพระมหากษัตริย์ไทยก็ยังมีที่เรียกว่าฉลองพระองค์อย่างเทศ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นอิทธิพลที่มาจากเครื่องแต่งการของชาวมุสลิม จากประเทศเปอร์เซียร์โดยแท้

ในการดนตรีก็มีเพลงต่างๆ ซึ่งอาจจะมาจากพวกซูฟีที่เรียกว่า "เกรตัน" นั้นมีเพลงต่าง ๆ ที่ตกค้างอยุ่ได้กลายเป็นเพลงไทยไป และตลอดจนท่าทางลีลาของการฟ้อนรำก็ได้ตกมาอยู่ในระบบนาฏศิลป์ของไทย อย่างจะเห็นได้อยู่ทุกวันนี้ ถ้าใครเป็นละคอนรำ จะเห็นได้ว่าการรำตะเขิ่งนั้นมาจากการฟ้อนรำของพวกซูฟี ตลอดจนการรำอย่างศิลปากรทุกวันนี้ เขาเรียกว่า "ดาวดึงส์" คือรำประเท้า แล้วสองมือตบอกนั้นก็เป็นอิทธิพลการฟ้อนรำ ที่มาจากอิสลามสำนักคิดชีอะห์ ที่เรียกว่าการเต้นมะหะหร่ำนั่นเอง

ถ้าใครที่ได้เคยไปประเทศเปอร์เซีย หรือิหร่าน ในปัจจุบันแม้แต่ทุกวันนี้ จะสังเกตเห็นอะไรสะดุดตาอย่างหนึ่งว่า ตามมัสญิดในปรเทศอิหร่านนั้นเขาใช้ถ้วยชามที่เป็นลวดลายต่าง ๆ สีต่าง ๆ ประดับหน้ามัสญิดบ้าง ประดับข้างในบ้าง สุดแล้วแต่ แต่นั่นเป็นความนิยมของชาวเปอร์เซียมาตั้งแต่ช้านาน หลายพันปีทีเดียว เขาใช้อย่างนั้น การใช้ถ้วยชามประดับวัดวาในเมืองไทยก็เกิดขึ้นในราวสมัยค่อนข้างตอนท้าย ๆ ของกรุงศรีอยุธยา แล้วก็มานิยมแพร่หลายกันในสมัยกรุงเทพฯ วัดโพธิ์ก็ดี วัดอรุณก็ดี

อย่างมาก จึงมั่นใจได้ว่าการใช้ถ้วยชามประดับวัดนี้ก็เป็นอิทธิพลของอิสลามอย่างหนึ่งที่มาจากเปอร์เซียร์นั่นเอง เพราะในอิสลามนั้นไม่นิยมการวาดรูปถ้าเราไปดูจะเห็นว่าอาศัยถ้วยชามสีต่าง ๆ เป็นลวดลายประดับพระวิหาร พระเจดีย์ต่าง ๆ ลวดลายสิ่งมีชีวิตไว้บนผนังหรืออาคารต่าง ๆ แลเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระบัญญัติของอิสลามอีกด้วย ดังนั้นชาวมุสลิมจึงใช้วัสดุประเภทถ้วยชามมาประดับแทน ซึ่งนอกจากจะเป็นของสวยงามแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ไว้เป็นอนุสรณ์แก่ชนรุ่นหลังได้อีกด้วย ดูลักษณะของบรรดามัสญิดต่าง ๆ ในเปอร์เซีย ที่มีการประดับดังกล่าวแล้วนั้น เก่าแก่กว่าบรรดาวัดวาอารามที่ประดับด้วยถ้วยชามในเมืองไทย แสดงให้เห็นว่าความนิยมเช่นนั้นมีมาก่อนแล้ว และได้มาเผยแพร่ในเมืองไทยในภายหลัง เป็นเหตุให้คนไทยที่นับถือศาสนาพุทธจำไปตกแต่งวัดวาอารามบ้าง

Muslim Hot Report : (ข้อมูล)ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ร่วมเผยแพร่ความเป็นอิสลามของสังคมไทย

"Muslim in Thailand" มุสลิมในประเทศไทย

สำหรับศาสนาอิสลาม หรือคนที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น น่าจะมีอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าประเทศไทยนี้ ตั้งแต่เริ่มประวัติศาสตร์ของคนชาติไทย เพราะว่าศาสนาอิสลามได้เผยแพร่เข้ามาถึงอินโดนีเซียและในแหลมมลายูนั้น ก่อนที่คนอีกเผ่าหนึ่งจะได้เคลื่อนมาจากยูนานใต้

แต่อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของมนุษยชาติต่าง ๆ อาจเวียนมาประสบพบกันในดินแดนแห่งใดแห่งหนึ่ง

คนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม และคนไทยที่ได้นับถือศาสนาอิสลามเหล่านั้น ความสัมพันธ์ก็คงจะเริ่มขึ้นตั้งแต่แรกเริ่มทีเดียว แต่ในสมัยเริ่มประวัติศาสตร์ว่า ในรัชกาลพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ได้แผ่อาณาเขตไปถึงแหลมมลายู เช่นเมืองนครศรีะรรมราชในขณะนั้น ก็นับถือศาสนาอิสลาม ตลอดลงไปจนถึงเมืองมะละกา ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นเมืองมะละกาอยู่

ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ก็นับว่า เป็นการเริ่มความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองของไทย และชนที่นับถือศาสนาอิสลามที่ปรากฎเป็นครั้งแรก และในความสัมพันธ์เช่นนั้นก็ย่อมจะมีความสัมพันธ์หลายอย่าง หลายประการ เป็นต้นว่า ในภาคใต้ของประเทศไทยในระยะนั้น ผู้ปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ก็ได้แก่ผู้นับถือศาสนาอิสลามนั่นเอง ไม่ใช่คนไทยที่นับถือศาสนาพุทธเป็นผู้ลงไปปกครองหรืออะไรเช่นนั้น ความสัมพันธ์ที่มีอยู่อย่าง ที่ว่าเป็นเมืองประเทศราช ถึงกำหนดปีก็ส่งเงินทองเข้ามายังเมืองหลวง

ส่วนกิจการอื่น ๆ นั้น ก็เรียกได้ว่ามีอิสระภาพที่จะปกครองตนเองอย่างเต็มที่ มีการส่งเครื่องหมายของความผูกพัน ความจงรักภักดีเข้ามาเป็นครั้งคราวก็นับว่าพอ และนอกจากพวกอิสลามที่มีปรากฎอยู่ในประเทศแล้ว นับตั้งแต่กรุงสุโขทัยมาปรากฎว่ามีการติดต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ ที่นับถือศาสนาอิสลามหลายประเทศ ทั้งนี้ตามหลักฐานที่ได้ขุดค้นพบแล้วในทางวรรณคดี

ในปัจจุบันเราได้ค้นพบเครื่องถ้วยชามสังคโลก อันเป็นผลิตภัณฑ์ของกรุงสุโขทัยซึ่งเป็นสินค้าที่ส่งออกเป็นจำนวนมาก เรียกได้ว่าเป็นสินค้าสำคัญอีกอย่างหนึ่งของประเทศไทย ในระยะนั้นถ้วยชามสังคโลกเหล่านี้ ได้พบในประเทศอิสลามต่าง ๆ หลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินโดนีเซียได้พบเป็นจำนวนมาก ยังอยู่ในลักษณะที่ดีสมบูรณ์ยิ่งกว่าที่เราพบในเมืองไทยเสียอีก เพราะในเมืองไทย ตกค้างอยู่ ก็เป็นเฉพาะถ้วยชามที่เสียหายแตกร้าวฝังไว้ตามเตาเผาถ้วยชาม นอกจากประเทศอินโดนีเซียแล้ว ยังพบถ้วยชามสังคะโลก ไกลออกไปถึงขนาดประเทศอิหร่าน ซึ่งเป็นประเทศอิสลาม แล้วก็ออกไปจนถึงอาฟริกาอีกหลายแห่ง ซึ่งได้พบถ้วยชามสังคะโลกเหล่านั้น

หลักฐานเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า มีการค้าขายติดต่อระหว่างประเทศไทยกับชนชาติอิสลามต่าง ๆ มาเป็นเวลาช้านานทีเดียว อาจจะก่อนสมัยสุโขทัยขึ้นไปอีกก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องที่เมืองไทยเรายังไม่มีประวัติศาสตร์แน่ชัด เพราะฉะนั้นถ้าจะพูดก็ตั้งแต่ระยะที่มีประวัติศาสตร์แน่ชัดลงมาแล้ว เรียกได้ว่าความสัมพันธ์ต่าง ๆ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ ที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น มีอยู่ตลอดมา และเมื่อเป็นเช่นนี้ก็เป็นธรรมดาอยู่เอง ที่จะต้องมีการเดินเรือติดต่อกัน คนไทยนั้นดูตามประวัติศาสตร์ก็ไม่ปรากฎ ว่าเป็นชาติที่เดินเรือเก่งกล้าอะไรนัก เพราะฉะนั้นเรือสินค้าในสมัยนั้น น่าจะเป็นเรือที่มาจากต่างประเทศ คือประเทศต่าง ๆ ที่ส่งเรือสินค้าเข้ามาบรรทุกสินค้าจากประเทศไทยออกไปยังประเทศของตนอีกทีหนึ่ง และในขณะนั้นยังไม่ปรากฎว่ามีชาวยุโรปเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้ามาค้าขายเดินเรือติดต่อระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ นั้น จึงน่าจะมีมุสลิมที่มาจากต่างประเทศเข้ามาตั้ง หลังแหล่งเพื่อดำเนินการค้าขายอยู่แล้ว

ครั้งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ก็คงมีอยู่ อย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง กรมศิลปากรได้ขุดพบเจดีย์ หรือพระมหาธาตุที่วัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสามพระยา (พระบรมราธิราช) ก็ราว ๆ พุทธศักราช 1961 - 1962 นับว่าเป็นสมัยเริ่มแรกของกรุงศรีอยุธยา เครื่องสมบัติอันมีค่าที่พบนั้น ปรากฎว่ามีเหรียญทองคำ ที่ทำขึ้นในประเทศแคชมีร์ ในรัชสมัยของพระมหากษัตริย์อิสลามผู้ทรงพระนามว่า "พระเจ้าไซนูล อาบีดีน" เหรียญทองคำสองอันนี้เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นเป็นการติดต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามอย่างแน่ชัด

ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี่เองที่มีหลักฐานแน่นอนว่าได้มีมุสลิมเข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา และได้ตั้งเมืองเป็นสำนักหลักแหล่งขึ้น โดยมีหลักฐานอย่างแน่นอน ปรากฎตามจดหมายเหตุโบราณว่า มีคนที่คนโบราณเรียกว่า "แขกเทศ" ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตั้งแต่สพานประตูจีนด้านตะวันตก ของกรุงศรีอยุธยาไปจนถึงหลังวัดนางมุก แล้วก็เลี้ยงลงไปที่ท่า "กายี" อันเป็นท่าน้ำแห่งหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ที่พูดมานี้คือตั้งแต่สพานประตูจีนฟากตะวันตกไปจนถึงวัดนางมุก แล้วเลี้ยวไปลงท่าน้ำกายีนั้น เป็นบริเวณที่มุสลิมตั้งบ้านเรื่องอยู่ใน กำแพงเมือง และนอกกำแพงเมืองออกไปตั้งแต่ปลายประตูจีนฟากตะวันตก ไปถึงตำบลที่เรียกว่า "ฌะไกรน้อย" ฟากตะวันตก ย่อมทำไร่นาด้วยตัวเอง

นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศทีเดียวสำหรับผู้ที่อยุ่ในกำแพงเมืองประกอบอาชีพด้วยการค้าขายสินค้าต่าง ๆ ในบริเวณตั้งแต่ประตูจีนฟากตะวันตกมาจนถึง ฌะไกรน้อยนี้เอง มีถาวรวัตถุร้างไปแล้วยังปรากฎอยู่ ชาวบ้านเรียกมา จนทุกวันนี้ว่า "กะฎีทอง" เข้าใจกันว่า กะฎีทองนี้เป็นซากของสุเหร่า หรือมัสญิด ที่คนที่นับถือศาสนาอิสลามในสมัยนั้นสร้างขึ้นไว้ ทีนี้คำว่า "แขกเทศ" มีปรากฎในจดหมายเหตุนี้ นักโบราณคดีสันนิฐานกันว่า จะเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามที่มีรกรากบ้านเรือนเดิมอยู่ในประเทศอาหรับบ้าง และในประเทศอิหร่านหรือเปอร์เซียบ้าง แล้วก็มาตั้งรกรากเพื่อดำเนินการค้าขายแล้วในที่สุดก็กลายเป็นคนไทย ไปแล้วมากต่อมาก สำหรับตำบลที่ผมกล่าวมานี้ ก็เป็นคนที่มาจากเปอร์เซีย หรือจากอาหรับ

คนที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่มาจากมลายูนั้นในสมัยศรีอยุธยาก็มีตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นตำบลใหญ่ หลายร้อยหลายพันหลังคาเรือนเหมือนกัน ตำบลนั้นจะอยู่คลองตะเคียงทางทิศใต้ ส่วนอิสลามิกชนพวกหนึ่งซึ่งมาจากอินโดนีเซีย ในปัจจุบันจากเกาะที่เรียกว่า "เกาะมากาซ่า" หรืออย่างในภาษาไทย เรียกกันว่า "มักกะสัน" นั้น ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านฝั่งตะวันตก ใกล้คลองตะเคียนด้านใต้ลงไป นี้ก็เป็นหลักฐานเท่าที่ทราบ แสดงว่าสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น มีมุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่ภายในพระนคร และโดยรอบพระนครนั้นเป็นจำนวนมาก และก็เป็นธรรมดาอยู่เอง ที่คนเหล่านั้น ก็ต้องมีส่วนมากมายหลายอย่างในการสร้างประวัติศาสตร์ของประเทศไทยให้เกิดขึ้น"

ข้อความดังกล่าวข้างต้นนั้นเป็นข้อความจากปาฐกถาของท่านอาจารย์มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ "เรื่องความเป็นมาของมุสลิมในประเทศไทย" แสดงที่ห้องประชุมคุรุสภา สวนกุหลาบวิทยาลัย ตามคำเชิญของพิทยาสามัคคีสมาคม เมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม 2501

จากหนังสือโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอนของ "ท่านพุทธทาสภิกขุ" ได้กล่าวถึงการมาของอินเดีย และอื่นๆ ไว้ว่า "เมื่อดูจากเศษกระเบื้องต่าง ๆ ที่เกลื่อนกลาดอยู่ริมทะเลของเมืองตะกั่วป่าก็แสดงให้เห็นได้ว่า ชาวจีนได้นำเครื่องกระเบื้องของเขามาขายยังถิ่นนั้นตั้งแต่ 1600 ปีมาแล้ว และชาวเปอร์เซียก็ได้นำเครื่องกระเบื้องของตนเข้ามาค้าขายด้วยตั้งแต่ 1200 ปีมาแล้วเหมือนกัน ชาวกรีกได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ตั้งแต่คริสต์สตวรรษที่ 2 ถึง ที่ 4 คือไม่น้อยกว่า 1500 ปี มาแล้ว ส่วนชาวอาหรับนั้น เรามีหลักฐานแน่นอนจากจดหมายเหตุของพวกอาหรับเอง ซึ่งแสดงให้เราทราบว่า เขาได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับดินแดนส่วนนี้ตั้งแต่สมัย 1100 ปี มาแล้วเหมือนกัน"

นอกจากนี้จากหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก็มีคำเปอร์เซียอยู่ด้วยคำหนึ่ง คือคำว่า "ปสาน" ซึ่งแปลว่า "ตลาด" ย่อมแสดงว่ามีชาวเปอร์เซีย ซึ่งแน่นอนเหลือเกินว่าป็นมุสลิมได้เข้ามาทำการค้าขายติดต่อ และตั้งบ้านเรือนอยู่ในเมืองไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยอย่างแน่นอน

ศาสนาอิสลามโดยการประกาศของท่านศาสดามุฮัมมัด แห่งชาวซาอุดิอาเรเบียนั้นได้อุบัติขึ้นประมาณ 1400 ปีเศษ (ปัจจุบันฮิจเราห์ 1416 และศาสนาอิสลามได้แผ่ขยายมาทางเอเซียอาคเนย์ ในสมัยพระบรมศาสดามุฮัมมัด ได้สวรรคตไปแล้วประมาณ 200 ปี ก็เป็นการตรงกันกับหลักฐานข้างต้นว่า ศาสนาอิสลามได้เข้ามาสู่กรุงสยามอินโดเนเซีย และตลอดแหลมมลายูราว 1200 ปีเศษ ก่อนที่คนไทยจะอพยพตนเองลงมาจากดินแดนจีนตอนใต้เสียอีก ดังนั้นดินแดนในแถบนี้ โดยเฉพาะจังหวัดต่าง ๆ ภาคใต้นับแต่นครศรีธรรมราชลงไป จนถึงปลายแหลมมลายู

ผู้คนในสมัยดังกล่าวนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งศาสนาอิสลามนี้เองได้เบ้ามาแทนที่ศาสนาพุทธ ซึ่งเคยรุ่งเรีองมาในแถบนี้ก่อนในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยได้สลายไป ก็เป็นเหตุให้ศาสนาพุทธในย่านนี้ รวมทั้งอินโดเนเซีย ซึ่งมีหลักฐานโบราณวัตถุทางศาสนาพุทธคือ "พระบุโรบุดู" อย่างเห็นได้ชัด พลอยเสื่อมไปด้วยพร้อมกับอาณาจักรศรีวิชัย บรรดาผู้ครองนครต่าง ๆ นับแต่ อินโดเนเซีย มลายู และเมืองไทยทางภาคใต้ ล้วนเป็นผู้ยอมรับเข้านับถือศาสนาอิสลามกันแทบทั้งสิ้น

ผู้เขียนใคร่ขอกล่าวแต่เฉพาะศาสนาอิสลามในเมืองไทยเท่านั้น เพื่อให้บรรดาท่านผู้อ่านได้ทราบถึงความเป็นมาของอิสลามในเมืองไทยอย่างเห็นได้ชัด จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้น ย่อมเป็นเครื่องชี้จัดว่า เมืองไทยนับตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไปจนสุดภาคใต้เลยไปจนถึงมาเลย์เซีย ทั้งประเทศสิงคโปร์ สุมาตรา มะละกา และหมู่เกาะอินโดเนเซียทั้งหมดนั้น ในสมัยเริ่มแรกที่คนไทยเคลื่อนย้ายมาจากจีนตอนใต้ มาอยู่สุวรรณภูมินั้นผู้คนบ้านเมืองเหล่านี้เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามแทบทั้งสิ้น และผู้เขียนเข้าใจว่า คนไทยของเราในสมัยที่ยังคงอยู่ในเมืองจีนนั้น ก็ยังมิได้รับนับถือพระพุทธศาสนา คงจะเป็นการเคารพนับถือบรรพบุรุษเยี่ยงคนจีนทั่วไป และมีการถือภูติผีกันตามแบบโบราณ

ดังจะเห็นได้จากการตั้งศาลพระภูมิตามบ้านเรือนนั้นก็เป็นการบูชาเจ้าที่เจ้าทาง ซึ่งคนไทยเราก็ขนเอาประเพณีนี้มาจากเมืองจีนนั่นเอง ผู้เขียนเชื่อว่าเมื่อคนไทยมาตั้งหลักอยู่ในสุวรรณภูมิ อิทธิพลของวัฒนธรรมของขอมโบราณยังคงมีอยู่ในสุวรรณภูมิภาคกลาง และภาคเหนือ และพระพุทธศาสนาก็ได้เคยได้รับการทำนุบำรุงจากผู้ปกครองในบ้านเมืองในย่านนี้มาก่อน และเคยรุ่งเรืองมาแต่อดีตในย่านนี้ เมื่อคนไทยเข้ามาพำนักอาศัยอยู่ในย่านนี้จึงได้รับเอาพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ต้องกับอุปนิสัยของคนไทยไว้เป็นศาสนาของตนด้วย

ในขณะเดียวกันที่อาณาจักรของไทยในสมัยกรุงสุโขทัย ก็ได้แผ่ขยายไปจนถึงใต้สุดปลายแหลมมลายูถึงมะละกา ซึ่งผู้คนในย่านนี้นับถือศาสนาอิสลามอยู่โดยทั่วไปทางผู้เป็นใหญ่ในกรุงสุโขทัยก็มิได้ถือเป็นข้อแตกต่างอะไรกันนัก ต่างก็อยู่ร่วมกันมาด้วยความสันติสุขตลอดมา หลายร้อยปีจนถึงปัจจุบันร่วม 8 ศตวรรษเข้าไปแล้ว จากหลักฐานในประวัติศาสตร์ของไทย ไม่เคยมีข้อบาดหมางระหว่างศาสนาพุทธกับอิสลามเลยแม้สักครั้งเดียว มีความร่วมมือร่วมใจซึ่งกันและกันระหว่างไทยพุทธกับไทยมุสลิม ในการบริหารบ้านเมืองต่อต้อานอริราชศัตรูมาด้วยกันทุกยุคทุกสมัย นับเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งภายใต้พระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งทุกพระองค์และทุถราชวงศ์ก็ได้ทรงให้ความอุปภัมภ์ค้ำชูแก่ศาสนาอิสลามมาโดยตลอด


Muslim Hot Report : (ข้อมูล)ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย