วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"ดุอาฮฺก่อนเข้าห้องสอบ"

ดุอาฮฺ ก่อนเข้าห้องสอบเป็นการขอจากอัลลอฮฺให้เราสามารถทำข้อสอบได้ด้วยความมีสติไม่ตื่นเต้นจนเกินไปจนทำให้การสอบของเรานั้นเสียไป มีดั้งนี้

"อัลลอฮฺฮุมมาลาซะลา อินลามาจาอันตาฮูซะลา วาอันตาตัจอาลูอัลฮัซนา อีซาชิตะซะลา"

(อ่านดุอาฮฺนี้ก่อนเข้าห้องสอบทุกครั้ง จะช่วยให้เรานั้นมีสติในการทำข้อสอบมากขึ้น ทำข้อสอบได้มากขึ้น)
แต่ทุกอย่างนี้เราต้องมอบให้เป็นความต้องการของพระองค์อัลลอฮฺ ซบ. ซึ่งในเมื่อเราได้มอบให้เป็นความต้องการของพระองค์แล้วเราก็ต้องมอบให้ด้วยสุจริตใจจริง อย่าคิดให้มากเกินไป ถ้าเราไม่ได้ในการสอบครั้งนั้น ก็ขอให้ถือว่าอัลลอฮฺทรงให้เราทำไม่ได้ ครั้งหน้ายังมีโอกาส

เราต้องเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างมาจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทั้งสิ้นแม้กระทั่งความดีความชั่ว รวมถึงการเกิดการตายด้วย เราต้องตั้งมั่นเสมอว่าโลกนี้และทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นมาเองไม่ได้ ถ้าไม่มีผู้สร้าง และผู้ถูกสร้างก็ไม่สามารถสร้างผู้ถูกสร้างด้วยกันเองได้

muslim hot report : รายงาน

"ความประเสริฐของการนั่งเพื่อการซิกิรฺหลังละหมาด"

นั่งกล่าวซิกิรฺและขอดุอาฮฺหลังละหมาด
ความประเสริฐของการนั่งเพื่อการซิกิรฺหลังจากละหมาดศุบหฺและอัศรฺ
มีรายงานจากอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لأَنْ أَقْعُدَ مَعَ قَوْمٍ يَذْكُرُونَ الله تَعَالَى مِنْ صَلاةِ الغَدَاةِ حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ أَحَبُّ إلَيَّ مِنْ أَنْ أُعْتِقَ أَرْبَـعَةً مِنْ وَلَدِ إَسْمَاعِيلَ، وَلأَنْ أَقْعُدَ مَعَ قَوْمٍ يَذْكُرُونَ الله مِنْ صَلاةِ العَصْرِ إلَى أَنْ تَغْرُبَ الشَّمْسُ أَحَبُّ إليَّ مِنْ أَنْ أُعْتِقَ أَرْبَـعَةً»
ความว่า การที่ฉันได้นั่งในกลุ่มหนึ่งที่มีการซิกิรฺต่ออัลลอฮฺตะอาลาเริ่มหลังจากละหามดศุบหฺจนดวงอาทิตย์ขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ฉันชอบมากมากกว่าที่ฉันได้ปลดปล่อยทาสสี่คนจากลูกหลานของอิสมาอีลเสียอีก และการที่ฉันได้นั่งในกลุ่มหนึ่งที่มีการซิกิรฺต่ออัลลอฮฺตะอาลาเริ่มหลังจากละหามดอัศรฺจนดวงอาทิตย์ตกนั้น เป็นสิ่งที่ฉันชอบมาก มากกว่าที่ฉันได้ปลดปล่อยทาสสี่คนเช่นกัน(เป็นหะดีษหะสัน บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 3667 โปรดดูในอัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะหีหะฮฺ 2916)


มีรายงานจากท่านญาบิรฺ อิบนุ สะมุเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าเมื่อท่านละหมาดฟัจรฺ(ละหมาดศุบหฺ)เสร็จท่านจะนั่งในที่ละหมาดจนกว่าดวงอาทิตย์ขึ้นอย่างเด่นตระหง่าน (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 670)


ช่วงเวลาซิกิรฺและดุอาอ์
การดุอาอ์หลังจากละหมาดสุนัตนั้นไม่ได่มีบัญญัติให้ปฏิบัติและไม่ปรากฏแหล่งที่มาในศาสนา ฉะนั้นผู้ใดปรารถนาที่จะดุอาอ์ให้เขาดุอาอ์ก่อนที่จะให้สลามทั้งในการละหมาดฟัรฎูและสุนัต แต่หากเขาดุอาอ์หลังจากเสร็จละหมาดแล้วในบางเวลาด้วยเหตุบางประการนั้น ถือว่าอนุโลมให้ดุอาอ์ได้
ทุกๆ หะดีษที่ได้รับรายงานมา ถ้ามีคำว่า (دبر الصلاة) “หลังละหมาด” หากเป็นดุอาอ์ให้อ่านก่อนสลาม แต่หากเป็นซิกิรฺให้อ่านหลังจากสลาม

เสียเวลานิดเดียวกับความประเสริฐของการนั่งกล่าวซิกิรฺ ที่พระองค์ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตอบแทนกลับมานั้นมีมากมายเหลือเกิน แล้วพวกเราล่ะยอมแลกเหรอกับสถานการณ์ของความขาดทุนที่ไม่เก็บเกี่ยวให้กับตัวเอง

muslim hot report : รายงาน

"กรณีผ่อนผันที่จะขาดละหมาดญุมุอะฮฺและญะมาอะฮฺได้"

ละหมาดญะมาอะฮฺ
ข้อผ่อนผันที่สามารถขาดละหมาดญุมุอะฮฺและญะมาอะฮฺได้
ถือว่าเป็นข้อผ่อนผันให้ขาดละหมาดญุมุอะฮฺและญะมาอะฮฺได้สำหรับ
- คนป่วยที่จะไปละหมาดญะมาอะฮฺลำบาก
- ผู้ที่พยายามกลั้นถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ
- ผู้ที่กลัวว่าจะพลาดกลุ่มคณะในขบวนเดินทาง
- ผู้ที่กลัวว่าจะอันตรายขึ้นกับตัวเขา ทรัพย์สิน หรือสมาชิกครอบครัวของเขา
- ผู้ที่ได้รับความไม่สะดวกเนื่องด้วยฝน ลม พายุที่รุนแรง
- ผู้ที่มีสำรับอาหารเตรียมอยู่ตรงหน้าและเขามีความต้องการที่จะกินอาหาร และสามารถกินอาหารได้นั้นสามารถผ่อนผันการละหมาดญุมุอะฮฺและญะมาอะฮฺได้ แต่ต้องไม่ทำเป็นประจำจนกลายเป็นสันดาน
- เช่นเดียวกับหมอ ยาม เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พนักงานดับเพลิง หรือคนอื่นๆ ที่หน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมที่จำเป็น ซึ่งหากถึงเวลาละหมาดแล้วเขาจำต้องอยู่ในหน้าที่ต่อไป เขาสามารถละหมาดในจุดที่เขาอยู่ได้  และเขาสามารถละหมาดซุฮฺริแทนญุมุอะฮฺได้หากเขาประสงค์

ทุกสิ่งทุกอย่างที่นำพาไปสู่การเผลอลืมการละหมาด หรือเป็นสิ่งที่ทำให้เสียเวลา หรือทำให้เกิดโทษต่อร่างกายหรือระบบประสาท ถือสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่หะรอมทั้งสิ้น เช่นการเล่นไพ่ การสูบบุหรี่ เสพกัญชา สิ่งมึนเมา สิ่งเสพติดและสิ่งอื่นๆ เช่น นั่งเฝ้าหน้าจอทีวี เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีสิ่งที่นำไปสู่ความเป็นกุฟรฺ ความเสื่อมเสียและความตกต่ำ

เห็นได้ช้ดเจนว่า "ในหลักการ การปฏิบัติที่เคร่งครัดนั้นก็ยังมีข้อยกเว้น ผ่อนผันให้สำหรับบุคคลที่ปฏิบัติตามอยู่ด้วย แล้วเราล่ะมีความพร้อมทุกอย่างในการที่จะสามารถทำตามคำสั่งของพระองค์ ทำตามสุนนะห์ของท่านนบี (ซล.) แต่พวกเราบางกลุ่มที่มีจำนวนค่อนข้างมากในปัจจุบัน กลับเลือกหนทางที่จะไม่ทำ"
   น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งนะครับ...พวกเราทั้งหลายกลับมาทำตามคำสั่งคำสอนกันเถอะครับ...

muslim hot report : รายงาน

"ความประเสริฐของการละหมาดโดยมีอีหม่าม"

ความประเสริฐของการละหมาดโดยมีอิมาม
การเป็นอิมามนำละหมาดนั้นเป็นสิ่งที่ประเสริฐอย่างใหญ่หลวง ด้วยเหตุนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้เป็นอิมามนำละหมาดด้วยตัวท่านเอง และเคาะลีฟะฮฺทั้งหลายหลังจากท่านนบีก็ได้เป็นอิมามนำละหมาดด้วยตัวของพวกเขาเองเช่นกัน
ดังนั้นอิมามจึงต้องมีความรับผิดชอบที่ใหญ่เช่นกัน เขาคือผู้ที่ต้องรับประกันคุณภาพของการละหมาด เขาจะได้ผลบุญอย่างมากมายหากเขานำการละหมาดได้ดี และเขายังจะได้ผลบุญเพิ่มเติมเหมือนกับผลบุญของผู้ตามที่ละหมาดพร้อมๆ กับเขา

หุก่มการตามอิมาม
เป็นสิ่งวาญิบที่มะอ์มูม(ผู้ละหมาดตามอิมาม)จะต้องตามอิมามในการละหมาดของทุกขั้นตอน ทั้งนี้เนื่องจากตำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
«إنَّمَا جُعِلَ الإمَامُ لِيُؤْتَـمَّ بِـهِ، فَإذَا كَبَّرَ فَكَبِّرُوْا، وإذَا رَكَعَ فَارْكَعُوا، وَإذَا قَالَ: سَمِعَ الله لِـمَنْ حَـمِدَهُ، فَقُولُوا: اللَّهُـمَّ رَبَّنَا لَكَ الحَـمْدُ، وَإذَا صَلَّى قَائِماً فَصَلُّوا قِيَاماً، وَإذَا صَلَّى قَاعِداً فَصَلُّوا قُعُوداً أَجْـمَعُونَ»
ความว่า แท้จริงการตั้งให้มีอิมามนำละหมาดนั้น เพื่อให้เขาถูกตาม ดังนั้นเมื่ออิมามรุกูอฺ พวกท่านก็จงรุกูอฺตาม เมื่ออิมามเงยขึ้นพวกท่านก็จงเงยขึ้นตาม และเมื่ออิมามกล่าว สะมิอัลลอฮุลิมันหะมิดะฮฺ พวกท่านจงกล่าวว่า ร็อบบะนาวะละกัลหัมดฺ เมื่ออิมามละหมาดในท่านั่ง พวกท่านทั้งหมดก็จงนั่งละหมาดด้วย” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 722 และมุสลิม เลขที่: 417 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)

ผู้ที่คู่ควรที่สุดในการเป็นอิมาม
ผู้ที่ทรงสิทธิหรือคู่ควรที่สุดในการเป็นอิมามนำละหมาด คือผู้ที่อ่านกุรอานได้ดีที่สุด หมายถึงผู้ที่จำกุรอานมากที่สุด รองลงมาคือผู้ที่เข้าใจหุก่มในการละหมาดมากที่สุด รองลงมาอีกคือผู้ที่มีความรู้ในสุนนะฮฺมากที่สุด รองลงมาคือผู้ที่ฮิจญ์เราะฮฺก่อน รองลงมาคือผู้ที่เข้ารับอิสลามก่อน รองลงมาคือผู้ที่มีอายุมากกว่า หากทุกคนเหมือนกันให้ตัดสินด้วยการหยิบฉลาก ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวนั้นในกรณีที่กลุ่มหนึ่งจะละหมาดโดยต้องให้คนหนึ่งคนใดในกลุ่มขึ้นเป็นอิมาม แต่หากในกรณีที่มัสญิดมีอิมามประจำอยู่แล้วนั้นจะต้องยกให้อิมามตามตำแหน่งเป็นผู้นำในการละหมาด
มีรายงานจากอบู มัสอูด อัล-อันศอรีย์ ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«يَؤُمُّ القَوْمَ أَقْرَؤُهُـمْ لِكِتَابِ الله، فَإنْ كَانُوا فِي القِرَاءَةِ سَوَاءً فَأَعْلَـمُهُـمْ بِالسُّنَّةِ، فَإنْ كَانُوا فِي السُّنَّةِ سَوَاءً فَأَقْدَمُهُـمْ هِجْرَةً، فَإنْ كَانُوا فِي الهِجْرَةِ سَوَاءً فَأَقْدَمُهُـمْ سِلْـماً»
ความว่า “ผู้ที่เหมาะที่จะนำการละหมาดที่สุดในกลุ่มคือผู้ที่อ่านอัลกุรอานได้ดีที่สุด หากในเรื่องอ่านอัลกุรอานเท่าเทียมกัน รองลงมาคือผู้ที่มีความรู้ในสุนนะฮฺมากที่สุด หากในเรื่องความรู้ในสุนนะฮฺเท่าเทียมกัน รองลงมาคือผู้ที่ฮิจญ์เราะฮฺก่อน หากในเรื่องฮิจญ์เราะฮฺก่อนหลังเท่าเทียมกัน รองลงมาคือผู้ที่เข้ารับอิสลามก่อน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 673)

ผู้เป็นสมาชิกของบ้านใดบ้านหนึ่งและผู้เป็นอิมามของมัสญิดใดมัสญิดหนึ่งคือผู้ที่ทรงสิทธิที่สุดที่จะเป็นอิมามในการละหมาดในสถานที่ของเขา เว้นแต่จะมีผู้ปกครองที่มีอำนาจอยู่ด้วย

หากมีความจำเป็นจริงก็สามารถที่จะละหมาดคนเดียวได้ เช่น การเดินทาง เราก็สามารถละหมาดคนเดียวได้ถ้า ณ ตอนเวลานั้นมีเราเพียงคนเดียว

mulim hot report : รายงาน

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"โทษสำหรับผู้ที่ศึกษาความรู้ศาสนาด้วยเจตนาอื่น ๆ นอกเหนือจากการหวังในความโปรดปรานของอัลลอฮฺ"

1- มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« مَنْ تَعَلَّمَ عِلْمًا مِمَّا يُبْتَغَى بِهِ وَجْهُ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ لاَ يَتَعَلَّمُهُ إِلاَّ لِيُصِيبَ بِهِ عَرَضًا مِنَ الدُّنْيَا لَمْ يَجِدْ عَرْفَ الْجَنَّةِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ ». يَعْنِى رِيحَهَا. أخرجه أبوداود وابن ماجه
ความว่า : “ผู้ใดที่ศึกษาความรู้ประเภทที่มีจุดประสงค์เพื่อแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ด้วยเจตนาเพียงเพื่อแสวงหาวัตถุโลกดุนยา เขาจะไม่ได้กลิ่นสวรรค์ในวันกิยามัต” [เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 3664 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 3112 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 252 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 204]

2- จากกะอับ บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า : ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า :
« مَنْ طَلَبَ الْعِلْمَ لِيُجَارِىَ بِهِ الْعُلَمَاءَ أَوْ لِيُمَارِىَ بِهِ السُّفَهَاءَ أَوْ يَصْرِفَ بِهِ وُجُوهَ النَّاسِ إِلَيْهِ أَدْخَلَهُ اللَّهُ النَّارَ ». أخرجه الترمذي وابن ماجه
ความว่า : “ผู้ใดที่ร่ำเรียนวิชาเพื่อจะใช้แข่งประชันกับบรรดาผู้รู้ หรือเพื่อจะใช้โอ้อวดคนโง่ หรือเพื่อจะใช้เบนใบหน้าคนอื่นให้มองไปยังตัวเขา(หมายถึงหาผลประโยชน์กับคนอื่นด้วยความรู้ของเขา) อัลลอฮฺก็จะให้เขาเข้านรก” [หะสัน บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 2645 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 2138 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 253 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 205]

พี่น้องทุกท่านล่ะครับ....ศึกษาเรื่องศาสนาด้วยเจตนาอันใด
muslim hot report : รายงาน

"โทษสำหรับผู้ปกปิดความรู้"

1- อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ตรัสว่า :


ความว่า : แท้จริง บรรดาผู้ที่ปกปิดหลักฐานอันชัดเจนและข้อแนะนำอันถูกต้องที่เราได้ประทานลงมา ภายหลังจากที่เราได้อธิบายมันไว้อย่างละเอียดให้แก่มนุษย์ในคัมภีร์นั้น ชนเหล่านั้นแหล่ะที่อัลลอฮฺจะทรงขับพวกเขาให้พ้นจากความเมตตาของพระองค์ และบรรดาผู้สาปแช่งต่างก็จะพลอยสาปแช่งพวกเขาไปด้วย นอกจากผู้ที่สำนึกผิดพร้อมกับปรับปรุงแก้ไขตัวเองและชี้แจงสิ่งที่ปกปิดไว้ ซึ่งชนเหล่านั้นข้าจะทรงยกโทษให้แก่พวกเขา และข้าคือพระผู้ทรงยกโทษ พระผู้ทรงเมตตายิ่ง (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 159-160)

2- จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« مَنْ سُئِلَ عَنْ عِلْمٍ فَكَتَمَهُ أَلْجَمَهُ اللَّهُ بِلِجَامٍ مِنْ نَارٍ يَوْمَ الْقِيَامَةِ ». أخرجه أبوداود والترمذي
ความว่า : “ผู้ใดที่ถูกถามเกี่ยวกับความรู้อย่างหนึ่งแล้วเขาปกปิดมัน อัลลอฮฺก็จะทรงครอบปากเขาด้วยปลอกปากที่ทำจากไฟในวันกิยามัต” [หะสันเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 3658 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 3106 และบันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หมายเลข 2649 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 2135]

บางท่านอาจจะขัดข้องใจว่า...ท่านที่มีความรู้เรื่องศาสนาในสังคมเรานี้ มีด้วยเหรอที่มีความรู้แล้วไม่เปิดเผยไม่ถ่ายทอดความรู้เรื่องดังกล่างให้กับบุคคลอื่น ในเมื่อเขาได้ศึกษาหาความรู้มาแล้วเหตุอันใดเขาถึงไม่กระทำในสิ่งที่ถูกต้องสมควรล่ะ......
ขอบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีอยู่จริง.....อาจจะด้วยเหตุผลส่วนตัวหรืออย่างไรก็หาทราบไม่ อันนี้ก็ต้องสืบหาและสอบถามจากบุคคลดังกล่างต่อไป นะครับแล้วเราล่ะเคยคิดที่จะศึกษาหาความรู้เพื่อที่จะปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามแนวทางและถ่ายทอดความรู้เรื่องดังกล่างให้กับบุคคลอื่นหรือไม่ หรือว่าไม่เคยคิด หรือว่าคิดแล้วแต่เกิดปัญหา

ด้วยเหตุนี้ผมขอกล่าวว่า...พยายามเถอะครับ..เพราะ เวลาแห่งยุคสุดท้ายนี้มีอีกไม่นานหรอกครับ ถ้าไม่ใช่เวลานี้แล้วจะเป็นเวลาไหนล่ะครับที่เราจะได้กระทำกัน

muslim hot report : รายงาน

"วาญิบต้องถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่น"

การสอนจากผู้รู้ (ศาสนาอิสลาม)
วาญิบต้องถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่น
1- อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า :

ความว่า : นี่คือการประกาศแก่ปวงมนุษย์ เพื่อพวกเขาจะได้รับบทเรียนจากมัน และจะได้รู้ว่าแท้จริงแล้วพระองค์คือพระเจ้าผู้ทรงเอกะ และเพื่อบรรดาผู้ที่มีปัญญาจะได้ถือเป็นบทเรียน (อิบรอฮีม : 52)

2- มีรายงานจากอบูบักเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ในตอนฮัจญ์อัลวะดาอฺ (ฮัจญ์อำลาครั้งสุดท้ายของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ) ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«لِيُبَلِّغِ الشَّاهِدُ الْغَائِبَ ، فَإِنَّ الشَّاهِدَ عَسَى أَنْ يُبَلِّغَ مَنْ هُوَ أَوْعَى لَهُ مِنْهُ » . متفق عليه
ความว่า : “ขอให้ผู้ที่มาจงกลับไปบอกผู้ที่ไม่มา โดยผู้ที่มาอาจจะกลับไปบอกแก่ผู้ที่เข้าใจดีกว่าเขาก็เป็นได้” [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 67 และมุสลิม หมายเลข 1679]

3- มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ บินอัมรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«بَلِّغُوا عَنِّي وَلَوْ آيَةً ..» . أخرجه البخاري
ความว่า : “พวกท่านจงถ่ายทอดความรู้ที่รับจากฉันให้แก่คนอื่นแม้เพียงหนึ่งอายัต(โองการ)ก็ตาม” [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 3461]

อย่างไรก็ตาม...การเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้จะเป็นบุคคลที่มีกำไร ในการส่งผลดีให้เขาสืบต่อๆ ไปในโลกหน้า ซึ่งจะเป็นบ่วงโซ่ต่อกันเป็นทอดๆ หากบุคคลที่ได้รับความรู้ได้นำไปปฏิบัติต่อและได้นำความรู้ที่ได้ไปประกาศ ถ่ายทอดความรู้ต่อกันไปเรื่อยๆ


muslim hot report : รายงาน
เนื้อหาประกอบจากเว็บ islamhouse.com

ความประเสริฐของผู้ที่เชิญชวนผู้อื่นสู่เส้นทางที่ถูกต้อง

ภาพประเสริฐยิ่ง : พระเจ้าที่ถูกกราบไหว้โดยแท้จริง
ความประเสริฐของผู้ที่เชิญชวนผู้อื่นสู่เส้นทางที่ถูกต้อง
มีรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า :
« مَنْ دَعَا إِلَى هُدًى كَانَ لَهُ مِنَ الأَجْرِ مِثْلُ أُجُورِ مَنْ تَبِعَهُ لاَ يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْئًا وَمَنْ دَعَا إِلَى ضَلاَلَةٍ كَانَ عَلَيْهِ مِنَ الإِثْمِ مِثْلُ آثَامِ مَنْ تَبِعَهُ لاَ يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ آثَامِهِمْ شَيْئًا ».  
ความว่า : “ผู้ใดเชิญชวนผู้อื่นไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง เขาก็จะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้ปฏิบัติตามคำเชิญชวนของเขา โดยที่ผลบุญของเขาเหล่านั้นไม่ได้ขาดหายไปแต่ประการใด และผู้ใดที่เชิญชวนผู้อื่นสู่ทางหลงผิด เขาก็จะได้รับผลบาปเท่ากับผลบาปของผู้ปฏิบัติตามคำเชิญชวนของเขา โดยที่ผลบาปของเขาเหล่านั้นไม่ได้ขาดหายไปแต่ประการใด บันทึกโดยมุสลิม [บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2674]

พี่น้องมุสลิมทุกท่านก็..สามารถที่จะเชิญชวนบุคคลที่เดินทางสู่หนทางที่ผิด ก็เป็นหน้าที่ที่จะต้องเชิญชวนให้บุคคลเหล่านั้นเดินทาง...หันหน้ากลับมาสู่หนทางแห่งความถูกต้องนะครับ

muslim hot report : รายงาน
ขอบคุณเนื้อหาดีๆ จากเว็บไซต์ islamhouse.com

"ดุอาที่ควรขอให้แก่ผู้ป่วยในตอนไปเยี่ยม"


1.มีรายงานจากอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« مَنْ عَادَ مَرِيضًا لَمْ يَحْضُرْ أَجَلُهُ فَقَالَ عِنْدَهُ سَبْعَ مِرَارٍ: أَسْأَلُ اللَّهَ الْعَظِيمَ، رَبَّ الْعَرْشِ الْعَظِيمِ، أَنْ يَشْفِيَكَ؛ إِلاَّ عَافَاهُ اللَّهُ مِنْ ذَلِكَ الْمَرَضِ ».
ความว่า : “ผู้ใดไปเยี่ยมผู้ป่วยที่คาดว่าชะตาของเขายังไม่ถึงคาด แล้วกล่าวใกล้ตัวเขาเจ็ดครั้งว่า
أَسْأَلُ اللَّهَ الْعَظِيمَ، رَبَّ الْعَرْشِ الْعَظِيمِ، أَنْ يَشْفِيَكَ
(แปลว่า ฉันขอจากอัลลอฮฺผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นเจ้าบัลลังอันยิ่งใหญ่โปรดให้ท่านฟื้นจากไข้) อัลลอฮฺก็จะให้เขาหายจากโรคนั้น (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 3106 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 2663 และบันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หมายเลข 2083 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 1698)

2.มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ บินอัมรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« إِذَا جَاءَ الرَّجُلُ يَعُودُ مَرِيضًا فَلْيَقُلِ: اللَّهُمَّ اشْفِ عَبْدَكَ يَنْكَأُ لَكَ عَدُوًّا، أَوْ يَمْشِى لَكَ إِلَى صَلاَةٍ ».
ความว่า : “เมื่อชายคนหนึ่งไปเยี่ยมผู้ป่วย เขาจงกล่าวว่า
اللَّهُمَّ اشْفِ عَبْدَكَ يَنْكَأُ لَكَ عَدُوًّا، أَوْ يَمْشِى لَكَ إِلَى صَلاَةٍ
(แปลว่า โอ้พระองค์อัลลอฮฺ ขอโปรดทรงทำให้บ่าวของพระองค์ฟื้นจากไข้เพื่อเขาจะได้เอาชนะศัตรูเพื่อพระองค์ หรือเดินไปละหมาดเพื่อพระองค์) (หะสัน บันทึกโดยอะหมัด หมายเลข 6600 ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหะฮฺ หมายเลข 1365 และบันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 3107 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 2664 )

3.มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ว่า :
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - كَانَ إِذَا أَتَى مَرِيضًا - أَوْ أُتِىَ بِهِ - قَالَ « أَذْهِبِ الْبَأسَ رَبَّ النَّاسِ ، اشْفِ وَأَنْتَ الشَّافِى لاَ شِفَاءَ إِلاَّ شِفَاؤُكَ ، شِفَاءً لاَ يُغَادِرُ سَقَمًا »
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านไปเยี่ยมคนไข้ หรือมีคนพาคนไข้ไปหาท่าน ท่านจะกล่าวว่า
أَذْهِبِ الْبَأسَ رَبَّ النَّاسِ ، اشْفِ وَأَنْتَ الشَّافِى لاَ شِفَاءَ إِلاَّ شِفَاؤُكَ ، شِفَاءً لاَ يُغَادِرُ سَقَمًا
(แปลว่า ขอโปรดทรงรักษาไข้ให้หายด้วยเถิดโอ้พระผู้อภิบาลของมนุษย์ ! ขอโปรดทรงรักษาไข้ด้วยเถิด เพราะพระองค์คือผู้รักษา ไม่มีการหายป่วยนอกจากด้วยการรักษาของพระองค์ เป็นการหายป่วยที่ไม่ปล่อยทิ้งโรคข้างเคียงใดๆ ตามมา(หรือเมื่อเป็นโรคอีกอัลลอฮฺก็จะทรงให้หายอีก) ) (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5675 และมุสลิม หมายเลข 2191)

4.จากอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า :
:... وَكَانَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - إِذَا دَخَلَ عَلَى مَرِيضٍ يَعُودُهُ قَالَ « لاَ بَأْسَ طَهُورٌ إِنْ شَاءَ اللَّهُ »
ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านเข้าเยี่ยมผู้ป่วย ท่านจะกล่าวว่า
لاَ بَأْسَ طَهُورٌ إِنْ شَاءَ اللَّهُ
(แปลว่า ไม่เป็นไรแล้ว (ไม่มีบาปแล้ว) หายแล้ว (มันได้ชำระล้างบาปแล้ว) อินชาอัลลอฮฺ) (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 3616)

คำที่ควรกล่าวเมื่อเห็นผู้ตกทุกข์

ภาพ : ความยากไร้ของคนในเมืองใหญ่

มีรายงานจากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« من رأى مبتلى فقال : الحَمْدُ للهِ الَّذِي عَافَانِي مِمَّا ابْتَلاَكَ بِهِ، وَفَضَّلَنِي عَلَى كَثِيرٍ مِمَّنْ خَلَقَ نَفْضِيلاً؛ لَمْ يُصِبْهُ ذلِكَ البَلاءُ ».    
ความว่า : “ผู้ใดเห็นคนตกทุกข์(ประสบกับบททดสอบเช่นเป็นโรค พิการ หรืออื่นๆ) แล้วกล่าวว่า
الحَمْدُ للهِ الَّذِي عَافَانِي مِمَّا ابْتَلاَكَ بِهِ، وَفَضَّلَنِي عَلَى كَثِيرٍ مِمَّنْ خَلَقَ نَفْضِيلاً
(แปลว่า ขอขอบคุณอัลลอฮฺที่ทรงให้ฉันเป็นสุขจากสิ่งที่ท่านประสบและทรงให้ความเป็นพิเศษอย่างเหลือล้นแก่ฉันมากกว่าหลายสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง) ทุกข์นั้นก็จะไม่ตกถึงเขา(เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัลเฏาะบาเราะนีย์ ในอัลเอาส็อฏ หมายเลข 5320  ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 2737)

"คุณค่าของการเยี่ยมคนป่วย" muslim hot report.

หอป่วยสตรี (ขออภัยหากเกิดความไม่เหมาะสมมา ณ โอกาสนี้ด้วย)
 1.มีรายงานจากเษาบานซึ่งเป็นคนรับใช้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« مَنْ عَادَ مَرِيضًا لَمْ يَزَلْ فِى خُرْفَةِ الْجَنَّةِ حَتَّى يَرْجِعَ ».
ความว่า : “ผู้ใดเดินทางไปเยี่ยมคนไข้เขาจะคงอยู่ในสภาพของผู้ที่เก็บเกี่ยวผลพวงแห่งสรวงสวรรค์จนกว่าเขาจะเดินทางกลับ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2568)

2.มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า:
« مَنْ عَادَ مَرِيضًا أَوْ زَارَ أَخًا لَهُ فِى اللَّهِ نَادَاهُ مُنَادٍ أَنْ طِبْتَ وَطَابَ مَمْشَاكَ وَتَبَوَّأْتَ مِنَ الْجَنَّةِ مَنْزِلاً ».
ความว่า : “ผู้ใดไปเยี่ยมคนไข้หรือเยี่ยมเพื่อนคนหนึ่งในแนวทางของอัลลอฮฺ จะมีคนกู่เรียกเขาว่า “ท่านเป็นคนดีแล้ว การเดินทางของท่านดีแล้ว และท่านได้เตรียมบ้านในสวรรค์แล้ว" (หะสัน บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 2008 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 1633 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 1443 เศาะฮีหฺสุนันอิบนิมาญะฮฺ หมายเลข 1184)

3.จากอะลี เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- يَقُولُ « مَنْ أَتَى أَخَاهُ الْمُسْلِمَ عَائِدًا مَشَى فِى خِرَافَةِ الْجَنَّةِ حَتَّى يَجْلِسَ فَإِذَا جَلَسَ غَمَرَتْهُ الرَّحْمَةُ فَإِنْ كَانَ غُدْوَةً صَلَّى عَلَيْهِ سَبْعُونَ أَلْفَ مَلَكٍ حَتَّى يُمْسِىَ وَإِنْ كَانَ مَسَاءً صَلَّى عَلَيْهِ سَبْعُونَ أَلْفَ مَلَكٍ حَتَّى يُصْبِحَ ».
ความว่า : ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดไปเยี่ยมเพื่อนมุสลิมของเขา เขาจะเดินท่ามกลางผลพวงที่พร้อมเก็บในสรวงสวรรค์จนกว่าเขาจะนั่งลง และเมื่อเขานั่งลงเราะฮฺมัต(ความเมตตาของอัลลอฮฺ)ก็จะปกคลุมเขา หากเขาไปในตอนเช้าเหล่ามะลาอิกะฮฺจำนวนเจ็ดหมื่นจะขออภัยโทษให้แก่เขาจนกระทั่งถึงเวลาเย็น และหากเขาไปในเวลาค่ำเหล่ามะลาอิกะฮฺจำนวนเจ็ดหมื่นจะขออภัยโทษให้แก่เขาจนกระทั่งถึงเวลาเช้า” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 3098 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 2655 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺตามสำนวนนี้ หมายเลข 1442 เศาะฮีหฺสุนันอิบนิมาญะฮฺ หมายเลข 1183)

ปัจจุบันสังคมเรามีเรื่องที่ต้องบาดหมาง  มองหน้ากันไม่ได้เยอะมากทำให้ผู้คนขาดทุนในเรื่องนี้กันมากด้วยเช่นกัน

muslim hot report : รายงาน