วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

"คอลีฟะห์อบูบักร "

คอลีฟะห์อบูบักร

เชื้อสาย


ท่านอบูบักรมีชื่อจริงว่า อับดุลลอฮฺ ท่านเป็นบุตรของ อบูกุฮาฟะฮฺ ท่านได้รับฉายานามว่า “อัศศิดดิ๊ก” แปลว่า “ผู้ยืนยันถึงความจริง” สาเหตุที่ท่านได้รับฉายานามเช่นนี้ เนื่องจากว่า ท่านนบีมูฮำหมัด ได้เดินทางอิสรออฺจากมัสยิดหะรอมไปยังมัสยิดอักซอ ในยามค่ำคืนแล้วกลับมาในตอนใกล้รุ่งเช้า แล้วท่านได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้พวกกุเรชซึ่งเป็นกาฟิรฟัง พวกเขาไม่เชื่อ พวกเขาจึงเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ท่านอบูบักรฟัง แล้วถามว่าท่านเชื่อเหตุการณ์นี้หรือไม่ ท่านอบูบักรกล่าวว่า “เชื่อ” และเชื่อยิ่งกว่าเหตุการณ์นี้อีก เชื่อข่าวที่มูฮำหมัดนำมาจากฟากฟ้า ” ท่านจึงได้รับฉายานามว่า “อัศศิดดิ๊ก”

ท่านอบูบักรสืบเชื้อสายตระกูล ตะมีม เผ่ากุเรช ท่านเกิดในเมืองมักกะห์ หลังจากท่านนบีมูฮำหมัด 2 ปี ท่านเป็นเพื่อนร่วมอพยพของท่านนบีมูฮำหมัด จากเมืองมักกะห์ไปยังเมืองมะดีนะห์ และท่านเป็นที่ปรึกษาของท่านนบีในการบริหารกิจการของอาณาจักรอิสลาม ท่านได้เข้าร่วมทำสงครามกับท่านนบีทุกครั้ง และเป็นซอฮาบะห์เพียงไม่กี่คนที่ยืนหยัดต่อสู้ ในสงครามหุไนนฺ ขณะที่มีข่าวลือว่า ท่านนบีมูฮำหมัด เสียชีวิตแล้ว ท่านได้สละทรัพย์สินจำนวนมากเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮฺ และได้ซื้อทาสมุสลิม จำนวน 7 คน ปล่อยให้เป็นอิสระ ขณะที่พวกเขาถูกกุเรชทรมานอย่างแสนสาหัส เพื่อให้พวกเขาละทิ้งอิสลาม แล้วหันมาบูชารูปเจว็ดเช่นเดิม ในบรรดาทาสเหล่านี้ได้แก่ ท่านบิลาล อิบนุรอบาหฺ มุอัซซินของท่านนบีมูฮำหมัด ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในบัญญัติศาสนา มีความละเอียดอ่อนในการใช้ความคิด

ท่านอบูบักรได้รับการแต่งตั้งจากท่านนบีมูฮำหมัด ให้เป็นผู้นำบรรดามุสลิม เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในปี ฮ.ศ.9 และเป็นอิมามนำบรรดามุสลิมละหมาด ขณะที่ท่านนบีมูฮำหมัดป่วยหนัก

ระว่างที่บรรดามุสลิมทะสงครามยัรมูก ท่านอบูบักรได้ถึงแก่กรรมลง ท่านอุมัรอิบนุคอฏฏอบ ได้ดำรงตะแหน่งคอละฟะห์คนที่ 2 ท่านได้ส่งหนังสือไปแจ้งแก่ท่านคอลิด อิบนุวะลีด ซึ่งเป็นแม่ทัพของบรรดามุสลิม โดยปลดท่านออกจากตำแหน่ง และหท่านอบูอุบัยดะห์ อิบนุ ญิรรอห์ ดำรงตำแหน่งแทน ท่านคอลิดได้ปกปิดข่าวนี้ไว้ โดยเกรงว่าจะเกิดความระส่ำระส่ายขึ้นภายในกองทัพ ท่านคอลิดได้นำกำลังทหารมุสลิมทำการสู้รบจนกระทั่งประสบชัยชนะ ท่านจึงได้ประกาศการถึงแก่กรรมของท่านอบูบักรและการดำรงตะแหน่งคอลีฟะห์ของท่านอุมัร และได้มอบตำแหน่งแม่ทัพให้แก่ท่าน อบูอุบัยดะห์ อิบนุญิรรอห์

อบูบักรถึงแก่กรรมเดือนญามาดิ้ลอาคิร ฮ.ศ.13 ในเมืองมะดีนะห์ และถูกฝังอยู่เคียงข้างท่านนบีมูฮำหมัด โดยอายุได้ 63 ปี ดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์ 2 ปี 3 เดือน


การดำรงตะแหน่งคอลีฟะห์

หลังจากท่านนบีมูฮำหมัด ถึงแก่กรรม ชาวมุฮาญีรีน (ผู้อพยพ) และชาวอันซอร (ผู้ช่วยเหลือ) มีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับผู้ที่จะดำรงตำแหน่งผู้ปกครองรัฐอิสลามและชาวมุสลิมต่อจากท่านนบีมูฮำหมัด หลักการขั้นพื้นฐานของอิสลามนั้น จำเป็นที่บรรดามุสลิมจะต้องปรึกษาหารือกันในการดำรงกิจการของพวกเขา อัลเลาะห์ ทรงตรัสในซูเราะห์อัชชูรอ อายะห์ที่ 38 ว่า :



“และกิจการของพวกเขา คือการปรึกษากันระหว่างพวกเขา”

ชาวอันซอรจึงจัดการประชุมกัน ณ เพิงพักของตระกูลซาอิดะห์ โดยมีความประสงค์ให้คนหนึ่งในพวกเขาดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์ ท่านอบูบักรจึงได้พูดแสดงเหตุผลแก่ชาวอันซอรพร้อมทั้งมีท่านอุมัร อิบนุคอฏอบ และท่านอบู อุบัยดะห์ ร่วมอยู่ด้วย ท่านได้กล่าวในตอนสุดท้ายว่า ท่านยินดีให้คนหนึ่งใน 1 คนนี้เป็นคอลีฟะห์ คือ ท่านอุมัร อิบนุคอฏฏอบ หรือ ท่านอบูอุบัยดะห์ ท่านอุมัรจึงกล่าวขึ้นว่า

“หามิได้ ท่านคือผู้เพื่อนร่วมอพยพของท่านนบี ท่านนบีได้ใช้ให้ท่านเป็นผู้นำละหมาด ขณะที่ท่านนบีป่วย ท่านจึงสมควรดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์ ”

แล้วท่านอุมัร อิบนุคอฏฏอบ จึงได้ให้สัตยาบันแก่ท่านบูบักร แล้วท่านอบูอุบัยดะห์ และชาวอันซอรพร้อมกับชาวมุฮาญีรีนอื่นๆ ก็ได้ให้สัตยาบันกับท่านอบูบักร การให้สัตยาบันครั้งนี้เรียกว่า “การให้สัตยาบันเฉพาะ” แล้วท่านอบูบักรก็รับการให้สัตยาบันทั่วไป ณ มัสยิดของท่านนบี หลังจากนั้นท่านก็กล่าวคำปราศรัยกับประชาชนว่า

“ประชาชนทั้งหลาย ฉันได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองของพวกท่าน ฉันก็มิได้ดีไปกว่าพวกท่าน ถ้าหากว่าฉันทำดี ท่านทั้งหลายจงให้การช่วยเหลือฉันเถิด ถ้าหากว่าฉันทำผิดพลาด ท่านทั้งหลายก็จงนำฉันสู่ทางที่เที่ยงตรงเถิด การพูดจริงเป็นความรับผิดชอบ การพูดเท็จเป็นการบิดพลิ้ว ผู้ที่อ่อนแอในพวกท่านคือผู้ที่แข็งแรงในสายตาฉัน จนกว่าฉันจะเอาสิทธิของเขากลับมาให้แก่เขา และผู้ที่แข็งแรง (ในพวกท่าน) คือผู้ที่อ่อนแอในสายตาของฉันจนกว่าจะเอาสิทธิ (ที่ถูกอธรรม) มาจากเขา –อินชาอัลเลาะห์ คนหนึ่งในพวกท่านอย่าทิ้งการญิฮาด เพราะว่าไม่มีกลุ่มชนใดละทิ้งการญิฮาด นอกจากอัลเลาะห์จะทรงทำให้เขาตกต่ำ ท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังฉัน ในเมื่อฉันเชื่อฟังอัลเละห์และร่อซูลของพระองค์ และถ้าหากฉันฝ่าฝืนอัลเลาะห์ ท่านทั้งหลายก็ไม่ต้องเชื่อฟังฉัน”

บุคลิกของคอลีฟะห์อบูบักร

ท่านอบูบักรเป็นคนแรกที่เข้านับถืออิสลาม และท่านได้เชิญชวนซ่อฮาบะห์อีกจำนวนมากให้เข้านับถือศาสนาอิสลาม เช่น ท่านอุสมาน อิบนุอัฟฟาน ท่านซุเบร อิบนุเอาวาม ท่านฎอลฮะห์ อิบนุอุบัยดิลลาห์ และได้ซื้อทาส 7 คน ที่เข้านับถือศาสนาอิสลามแล้วปล่อยให้เป็นอิสระ ท่านอบูบักรมีรูปร่างผอมบาง ผิวขาว พูดจาฉะฉาน มีความสุภาพอ่อนโยน นอบน้อมถ่อมตน มีความเด็ดขาด หวงแหนในศาสนา ท่านยืนหยัดในความจริง โดยไม่หวาดกลัวสิ่งใด

อ่านบทความเพิ่มเติม คลิ๊ก ความคิดเห็น
Muslim Hot Report : ประวัติคอลีฟะทั้ง 4

7 ความคิดเห็น:

  1. คำสั่งเสียของท่านอบูบักรแก่เหล่าทหาร

    คอลีฟะห์อบูบักรได้สั่งเสียแก่เหล่าทหาร มีใจความว่า :

    “ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติดีต่อกัน อย่าแสดงการบิดพลิ้ว อย่าแสดงการอวดดี อย่าทำการเกินขอบเขต อย่าได้ประจานผู้ตาย อย่าฆ่าเด็ก คนชรา และสตรี เมื่อศัตรรูยอมจำนน ท่านทั้งหลายก็จงรับในข้อเสนอของพวกเขา ท่านทั้งหลายจงตัดต้นไม้ผล อย่าฆ่า แพะ แกะ หรือ วัว หรือ อูฐ นอกจากเท่าที่จะเป็นอาหาร ท่านจะพบกับผู้ที่บำเพ็ญเพียรอยู่ในโบสถ์ วิหาร ท่านทั้งหลายจงอย่ารบกวนพวกเขา”

    ตอบลบ
  2. ผลงานของคอลีฟะห์อบูบักร

    1. เคลื่อนทัพอุซามะห์

    ก่อนที่ท่านนบีมูฮำหมัด จะถึงแก่กรรม ท่านได้จัดกองทำเพื่อส่งไปทำสงครามกับพวกโรมันในดินแดนชาม โดยมีอุซามะห์ อิบนุเซด เป็นแม่ทัพ แต่ยังไม่ทันที่กองทัพออกเดินทาง ท่านนบีมูฮำหมัด ก็ถึงแก่กรรมลง ท่านอบูบักรจึงปฏิบัติตามคำสั่งของท่านนบี ถึงแม้ว่า ซ่อฮาบะห์ บางคนจะเสนอให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งของท่านนบีก็ตาม ท่านกล่าวว่า
    “ขอสาบานด้วยอัลเลาะห์ ฉันจะไม่เปลี่ยนแปลงกองทัพที่ท่านนบี ได้ตั้งขึ้นแต่อย่างใด”
    กองทัพมุสลิมซึ่งมีอุซามะห์ อิบนุเซด เป็นแม่ทัพ ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม

    ตอบลบ
  3. 2. ทำสงครามกับผู้ละเมิดบัญญัติอิสลาม

    หลังจากที่ท่านนบีมูฮำหมัด ถึงแก่กรรม ผู้ที่มีความศรัทธายังไม่มั่นคง ต่างเลิกนับถือศาสนาอิสลาม บางคนก็ไม่ยอมจ่ายซะกาตให้แก่ทางการ และบางคนก็อ้างตัวเป็นนบี เช่น มุซัลละห์ อัลอันซีย์ ท่านอบูบักรได้กล่าวด้วยคำพูดที่เด็ดขาดต่อผู้ที่ไม่จ่ายซะกาตว่า

    “ขอสาบานด้วยอัลเลาะห์ ถ้าหากว่าพวกเขาไม่ให้ฉัน แม้เท่ากับบังเหียนอูฐ ฉันก็จะทำสงครามกับพวกเขา”

    ท่านอบูบักรได้ส่งกองทัพเพื่อปราบปรามบรรดาผู้ละเมิดบัญญัติอิสลาม โดยมีนักรบคนสำคัญเป็นแม่ทัพ เช่น ท่านคอลิด อิบนุวะลีด ท่านอัมรฺ อิบนุอาศ ซึ่งสามารถปราบปรามผู้ละเมิดบัญญัติอิสลามอย่างราบคาบ

    ตอบลบ
  4. 3. การรวมอัลกุรอานเป็นเล่ม

    ในการทำสงครามกับผู้ละเมิดอิสลาม บรราดาผู้ท่องจำอัลกุรอานเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ท่านอุมัร อิบนุคอฏฏอบ จึงเสนอให้คอลีฟะห์อบูบักร รวมอัลกุรอานเป็นเล่ม เพรากลัวคัมภีร์อัลกุรอานจะสูญหายไปดังเช่นคัมภีร์ก่อนๆ ในตอนแรกคอลีฟะห์อบูบักรไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการกระทำที่เกินกว่าการกระทะของท่านร่อซูล ท่านอุมัรจึงชี้แจงเหตุผล จนในที่สุด ท่านอบูบักรก็เห็นชอบด้วย โดยแต่งตั้งให้ท่านเซด อิบนุซะบัต เป็นหัวหน้าในการรวบรวมอัลกุรอานแป็นเล่ม ทั้งนี้โดยนำเอาบันทึกในสมัยท่านนบีมูฮำหมัด คัดมาเรียงลำดับ เมื่อเสร็จเรียบร้อย จึงมอบไว้กับท่านคอลีฟะห์อบูบักร

    ตอบลบ
  5. 4. การพิชิตดินแดนต่างๆ
    ในสมัยคอลีฟะห์อบูบักร มีการพิชิตดินแดนต่างๆมากมาย กล่าวคือ

    การพิชิตอิรัก ฮ.ศ. 12
    มีอาณาเขตติดต่อกับอ่าวอาหรับ และมีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำยุเฟรติส และแม่น้ำไพคิส ขณะนั้นตกอยู่ถายใต้การปกครองของเปอร์เซีย ชาวเมืองได้รับการกดขี่ข่มเหง คอลีฟะห์อบูบักรจึงส่งกองทัพมุสลิมโดยมีคอลิด อิบนุวะลีด เป็นแม่ทัพ เดินทางไปพิชิตดินแดนแห่งนี้ และปลดปล่อยประชาชนให้เป็นอิสระ จากการตกอยู่ภายใต้การกดขี่ของเปอร์เซีย โดยเอาชนะต่อฮุรมุซ แม่ทัพของเปอร์เซียในอิรัก

    การพิชิตดินแดนชาม ฮ.ศ. 13

    ดินแดนชามนั้นเป็นเมืองขึ้นของโรมัน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรอาหรับ ขณะนี้ได้แยกออกเป็นประเทศต่างๆคือ ปาเลสไตน์ จอร์แดน เลบานอน ซีเรีย คอลีฟะห์อบูบักร ได้จัดส่งกำลังทหารมุสลิมโดยแบ่งออกเป็น 4 กองทัพ โดยมีอบู อุบัยดะห์ อามิร อิบนุญิรเราะห์ ยะซีด อิบนุอบีซุฟยาน ชุเราะห์บีล อิบนุ หะสะนะห์ และ อัมร์ อิบนุอาศ เมื่อพวกโรมันทราบข่าวว่าพวกมุสลิม ได้ตระเตรียมกำลังทหารจำนวนมาก เพื่อทำสงครามกับพวกเขา โดยยกกองทัพไปยังแม่น้ำยัสมูก ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทัพมุสลิม ขณะเดียวกันท่านอบูบักรก็มีคำสั่งให้ท่านคอลิด อิบนุวะลีด เดินทางมาจากอิรัก เพื่อช่วยกำลังทหารมุสลิมทำสงคราม ท่านคอลิด จึงจัดขบวนทัพ โดยให้ทหารมุสลิมทั้งหมด ขึ้นตรงต่อแม่ทัพคนเดียว ส่วนทหารโรมันก็ถูกผูกด้วยโซ่ตรวนเพื่อป้องกันการหลบหนี

    การต่อสู้ระหว่าง 2 ฝ่าย ได้เริ่มขึ้นหลังจากที่ได้ต่อสู้กันประปรายเป็นเวลา 3 เดือน กองทัพมุสลิมมีคอลิด อิบนุวะลีด เป็นแม่ทัพ และกองทัพโรมันมี เฮราคลียุส เป็นแม่ทัพ โดยดำเนินไปอย่างดุเดือด มีการตะลุมบอนอย่างรุงแรง ในที่สุด บรรดามุสลิมก็ได้รับชัยชนะ สงครามครั้งนี้มีชื่อว่า “สงครามยัรมูก” เพราะการสู้รบเกิดขึ้นใกล้กับแม่น้ำยัรมูก กำลังทหารมุสลิมมีทั้งหมด 30,000คน เสียชีวิตประมาณ 3,000คน ในจำนวนนี้มี อิกรีมะห์ อิบนุ อบีญะห์ รวมอยู่ด้วย โดยที่มีบาดแผล 70 แห่งทั่วร่างกายของเขา ส่วนทหารโรมันมีกว่า 200,000คน และเสียชีวิตเป็นจำนวนหลายพันคน

    เฮราคลียุส ได้กล่าวก่อนที่จะคอนกองทัพออกจากดินแดนชามกลับไปยังอาณาจักรโรมัน ไบเซ็นตีน ว่า
    “โอ้ ซีเรีย ฉันขอลาเจ้าเป็นครั้งสุดท้าย เพราะฉันคงจะไม่ได้พบเจ้าอีกแล้ว หลังจากวันนี้”
    ระหว่างสงครามมีผู้นำสารของคอลีฟะห์ อิบนุคอฏฏอบ ไปมอบให้แก่คอลิด โดบบอกถึงการถึงแก่กรรมของท่านอบูบักร และการดำรงตำแหน่งของคอลีฟะห์อุมัร พร้อมกับให้แต่งตั้งให้ท่านอบู อุบัยดะห์ อิบนุญิรเราะห์ เป็นแม่ทัพแทนท่านคอลิด ท่านคอลิดได้ปิดบังข่าวไว้จนเสร็จสงคราม ท่านจึงมอบตำแหน่งทัพให้แก่ท่านอบู อุบัยดะห์ และประกาศข่าวการถึงแก่กรรมของท่านอบูบักร และการดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์ของท่านอุมัร สาเหตุของการปิดบังก็เพื่อ มิให้เกิดความระส่ำระส่ายขึ้นภายในกองทัพมุสลิม

    ตอบลบ
  6. กว่าจะรวบรวมอัล-กรุอาน..เป็นเล่มได้...แต่ทำไมมุสลิมยุคปัจจุบันถึงไม่ค่อยเห็นคุณค่ากัน

    ตอบลบ
  7. ต้องรอกันอีกนานเท่าไหร่...ถึงจะเห็นคุณค่ากัน...ทำไมไม่หลุดพ้นจากหนทางแห่งความกริ้วของอัลลอฮฺกัน

    ตอบลบ