วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

"โยมมุสลิม นั่นศาสนาอาตมา" การทำบุญให้ผู้ตาย

ศาสนาพุทธ
                หลังจากเก็บกระดูแล้ว เมื่อครบวันตาย
7 วัน 50 วัน และ 100 วัน จะมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย แต่มักนิยมรวมไปทำ 100 วันเลยทีเดียว ในวันนี้ญาติพี่น้องและลูกหลานของผู้ตายจะมาพร้อมกันที่วัด ไม่ต้องใส่ชุดไว้ทุกข์หรือขาวดำอีกด้วย หากแต่งชุดขาวดำไว้ทุกข์ให้ผู้ตายร้อยวัน ในวันนี้ก็สามารถออกทุกข์ คือ กลับไปนุ่งห่มเสื้อผ้ามีสีสันได้เหมือนเดิม
                สิ่งของที่ต้องเตรียมก็คือ รูปภาพของผู้ตาย ส่วนใหญ่จะใช้ภาพที่ตั้งหน้าโลงในช่วงที่ทำพิธีสวดพระอภิธรรมนั่นเอง พร้อมโกศใส่กระดูกนำมาใส่พาน พันสายสิญจน์ที่โกศและรูปไปวางไว้ในพานข้างพระ องค์ที่เป็นประธาน
                เมื่อได้เวลาซึ่งส่วนใหญ่จะก่อนเพล พระที่นิมนต์ไว้
9 รูปจะมาสวดพุทธมนต์ เสร็จแล้วเจ้าภาพจึงถวายจตุปัจจัย พระสวดอนุโมทนาแล้วให้พร เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย ต่อจากนั้นจึงเลี้ยงอาหารพระ ซึ่งมักนิยมเลี้ยงหมดวัด เสร็จแล้วจึงมีการสวดอนุโมทนาและกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลอีกครั้งหนึ่ง
                ขั้นตอนเหล่านี้ไม่มีกำหนดตายตัว บางแห่งอาจผิดแผกแตกต่างกันไปแล้วแต่ประเพณีท้องถิ่นนิยม
                นอกจากนี้พระเทพญาณกวีหรือสนธิ์ กิจจการโร (
2508,54,61) ได้เขียนไว้ในคู่มือปฏิบัติงานศาสนาพิธี ตอนหนึ่งมีใจความว่า
                ทำบุญ
7 วัน เรียกว่า สัตตมวาร การทำบุญ 7 วัน มีนิยมทำกันอยู่ทั่วไป และนับวันนั้นมีนิยมกำหนดดังนี้ ถ้าตายวันไหนให้ถือเอาวันนั้นเป็นวันสำคัญ คือวันอุทิศผลบุญ....ส่วนทำบุญ 50 วัน และ 100 วัน ทำบุญ 50 วันเรียกว่าปัญญาสมวาร 100 วันเรียกว่า สตมวาร มีพิธีจัดการเกี่ยวกับทำบุญ 7 วัน
ศาสนาอิสลาม
                หลักการอิสลามศาสนาอิสลามระบุชัดเจนสำหรับบุคคลที่มีชีวิตอยู่จำเป็น (วาญิบ) จะต้องกระทำให้แกผู้ที่เสียชีวิตคือ อาบน้ำ, กะฝั่น (ห่อศพ), นมาซ และฝังผู้ตาย ศาสนาอิสลามกำชับให้คนเป็นกระทำแก่คนตายสี่ประการใหญ่ๆ ข้างต้นเท่านั้น ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ เกี่ยวกับคนตาย เช่นนี้ก็มีกล่าวไว้เช่นกัน ทว่ามุสลิมจะปฏิบัติต่อคนตายก็ต่อเมื่อมีคำสั่ง หรือแบบฉบับจากท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. หรือตัวบทหรือหลักฐานจากศาสนาเท่านั้น
                เอาล่ะ ทีนี้มาพิจารณาถึงพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำบุญให้แก่ผู้ตายนั้น ศาสนาอิสลามไม่ได้ระบุให้มุสลิมคนใดทำบุญที่เป็นพิธีกรรมให้แก่ผู้ตายเลยแม้แต่น้อย หรือแม้กระทั่งการทำพิธีกรรมให้คนตายโดยกำหนดวันและเวลา ก็ไม่มีเช่นกัน ใช่แต่เท่านั้น เหล่าบรรดาเศาะหาบะฮฺ (สหายร่วมศรัทธาของท่านรสูล ซล.) ก็ไม่เคยกระทำสิ่งดังกล่าวไว้เลย
                เมื่อบทสรุปของศาสนาระบุชัดเจนทั้งอัลกุรฺอานและหะดีษที่ถูกต้องของท่านรสูล ซล. โดยไม่ระบุการทำบุญให้แก่คนตายในวันที่เขาตาย, วันที่
7, 40, 50 หรือ 100 วัน เช่นนี้ถือว่าไม่อนุญาตให้มุสลิมกระทำเช่นนั้นโดยเด็ดขาด ดั่งที่พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า
                “และสิ่งใดที่ท่านรสูลนำมายังสูเจ้า ดังนั้นสูเจ้าจงยึดสิ่งนั้น และสิ่งใดที่ท่านรสูลห้ามสูเจ้า ดังนั้นสูเจ้าจงละทิ้งสิ่งนั้นเถิด และสูเจ้าจงยำเกรงพระองค์อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงรุนแรงในการลงโทษ”
                อีกอายะฮฺหนึ่งพระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า
                “แน่นอนยิ่ง ในตัวของท่านรสูลของอัลลอฮฺนั้นมีแบบฉบับอันงดงามยิ่งสำหรับสูเจ้าแล้ว”
                เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อมุสลิมประกาศเจตนารมณ์ว่าจะตามอัลลอฮฺจะตามรสูล ซล. แน่นอนอย่างยิ่งยวด มุสลิมผู้นั้นจะต้องปฏิบัติในสิ่งที่ได้ปฏิญาณไว้กับตนเอง โดยยึดเจตนารมณ์เดิมของตนเองเป็นที่ตั้ง ส่วนสภาพสังคม หรือประเพณีท้องถิ่นนิยมจะเป็นอย่างไรนั้น นั่นคือเรื่องที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้หมดไปจากสังคมมุสลิมโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ แต่พื้นฐานเดิม มุสลิมต้องทำให้ตนเองปฏิบัติตามหลักการของศาสนาให้มากที่สุด ไม่ใช่ตามอารมณ์ตนเองหรือตามพรรยบุรุษที่เคยกระทำผิดมาในอดีต
ประเพณีท้องถิ่นนิยม
                สังคมมุสลิมบางท้องถิ่นมักจะไปเยี่ยมผู้ตาย แล้วนำข้าวของติดไม้ติดมือไปด้วยเพื่อนำไปทำบุญที่บ้านคนตาย แต่ปัจจุบันญาติของผู้ตายมักจะทำอาหารขึ้นเอง โดยจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายเป็นระยะๆ คือ ทำบุญในวันที่ตาย, ทำบุญ
7 วัน 40 วันและ 100 วัน โดยวันดังกล่าวจัดให้มีการอ่านดุอาอ์ และอ่านอัลกุรฺอาน จากนั้นก็เลี้ยงอาหารให้แก่บรรดาโต๊ะละแบ และบรรดาแขกเหรื่อ อีกทั้งยังมีการอ่านกุรฺอาน และอ่านดุอาอ์ในกุบูรฺในวันดังกล่าวด้วยเช่นกัน ซึ่งบ้านมักเรียกการทำพิธีกรรมข้างต้นว่า “การทำอีซิกุโบร์” ซึ่งตัวอย่างการอ่านอีซิกุโบร์มีดังนี้
                “แด่ ฯพณฯ ท่านน่าบีมุฮัมมัด ซล. และแด่วงศ์ตระกูลของท่านน่าบี และมวลสาวกของท่านน่าบี และขออุทิศส่วนกุศลแด่บรรดาดวงวิญญาณของมวลมุมินีนและมุมีน๊าต สรรพสิ่งทั้งมวลนั้น เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ กุศลของการอ่านฟาติหะฮฺนั้นต้องประสบแก่เขาทั้งสิ้น
                แล้วให้อ่านซูเราะฮฺฟาติฮะฮ์หนึ่งต้น อ่านกุ้ลฮุวั้ลลอฮ์อย่างน้อยสามต้น อ่านซูเราะฮ์อันฟ่าลักหนึ่งต้น และอ่านซูเราะฮ์ฟาติฮะฮ์ให้ส่งท้ายด้วยประโยคที่ว่า “ลาอีลาฮะอิ้ลลัลลอฮุอั้ลลอฮุอักบัรฺ” ต่อจากนั้น ก็ให้อ่านบรรดาอายะฮ์กุรฺอานต่อไปนี้
                ต่อจากนั้นก็อ่านอัลกุรฺอาน และดุอาอ์อีกยาวเฟื้อย ซึ่งจะเห็นได้ว่า สิ่งข้างต้นล้วนแล้วต่อเติมประดิษฐ์ประดอยขึ้นเองของมุสลิมในยุคหลังๆ ทั้งสิ้น ไม่มีร่องรอยจากท่านนบีมุหัมมัด ซล. แม้แต่นิดเดียวอีกทั้งบรรดาเศาะหาบะฮฺก็ไม่เคยกระทำแบบนั้นเลยแม้แต่คนเดียว ยิ่งบรรดาสี่มัซฮับด้วยแล้ว ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันจากตำรา หรือจากคำสอนของพวกเขาที่ส่งเสริมให้กระทำอะไรแบบนั้น
                เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า หากมุสลิมคนใดทำบุญให้แก่ผู้ตายโดยกำหนดวัน และมีพิธีกรรมดั่งที่กล่าวมาข้างต้น ถือว่ามุสลิมผู้นั้นกำลังสิ่งอุตริกรรมขึ้นใหม่ในศาสนา (บิดอะฮฺ) แล้วนั่นเองใช่แต่เท่านั้น มุสลลิมผู้นั้นยังมีความผิดในฐานะที่ไปนำคำสอน หรือความเชื่อทางศาสนาพุทธมาปฏิบัติโดยให้อยู่ในรูปแบบที่ตนเองอ้างว่าเป็นคำสอนศาสนาอิสลาม งั้น...พี่น้องผู้อ่านลองเทียบดูว่าจริงหรือไม่อย่างไร?
                คนพุทธ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย
7 วัน ส่วนคนมุสลิมก็ทำบุญให้คนตาย 7 วัน
                คนพุทธ นิมนต์พระมาสวดพุทธมนต์ ส่วนคนมุสลิมก็เชิญโต๊ะอิมามโต๊ะละแบมาอ่านดุอาอ์
                (หลังสวดเสร็จ) คนพุทธถวายจตุปัจจัย จากนั้นพระสวดอนุโมทนา และให้พรเจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย, (หลังอ่านดุอาอ์เสร็จ) เจ้าภาพมุสลิมแจกซองให้โต๊ะอิมามโต๊ะละแบ โดยเจ้าภาพมุสลิมเนียตทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย
                ภายหลังพระสวดเสร็จเจ้าภาพคนพุทธจัดแจงเลี้ยงอาหารพระซึ่งมักนิยมเลี้ยงหมดวัด เสร็จแล้วจึงมีการสวดอนุโมทนาและกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลอีกครั้งหนึ่ง ส่วนภายหลังที่โต๊ะอิมามโต๊ะละแบดุอาอ์ (หรือแจกซอง) เสร็จ เจ้าภาพมุสลิมก็เลี้ยงอาหารแก่โต๊ะอิมามโต๊ะละแบ หากเจ้าภาพเชิญโต๊ะละแบจากโรงเรียนปอเนาะก็มักจะเชิญหมดปอเนาะ โดยเจ้าภาพมุสลิมเนียตการเลี้ยงอาหารนั้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย จากนั้นจะมีการไปทำพิธีต่อที่กุบูรฺหรือไม่นั้น นั่นอีกประเด็นหนึ่ง
                คำถาม มุสลิมประหนึ่งคนแปลกหน้า ซึ่งท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวไว้ว่า
                “อิสลามเริ่มต้นอย่างคนแปลกหน้า และจะหวนกลับมาอีกครั้งหนึ่งในสภาพที่แปลกหน้าเสมือนตอนเริ่มต้น ดังนั้นจงแจ้งข่าวดีสำหรับ (มุสลิม) ผู้แปลกหน้าเถิด (นั่นหมายถึง ผู้แปลกหน้านั้นจะได้สวรรค์เป “อิสลามเริ่มต้นอย่างคนแปลกหน้า และจะหวนกลับมาอีกครั้งหนึ่งในสภาพที่แปลกหน้าเสมือนตอนเริ่มต้น ดังนั้นจงแจ้งข่าวดีสำหรับ (มุสลิม) ผู้แปลกหน้าเถิด (นั่นหมายถึง ผู้แปลกหน้านั้นจะได้สวรรค์เป็นการตอบแทน)

                ถามว่าพฤติกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลข้างต้น มุสลิมทำตัวแปลกหน้า หรือตางจากคนศาสนิกอื่นตรงไหน? หากเป็นมุสลิมจำเป็น (วาญิบ) ต้องมีพฤติกรรมในเรื่องความเชื่อ และภาคปฏิบัติที่ต่างจากคนศาสนิกอื่นอย่างสิ้นเชิง
                คนพุทธเขาทำบุญสามวัน เจ็ดวัน หรือร้อยวันให้แก่ผู้ตาย นั่นเป็นสิทธิของเขา เพราะเป็นความเชื่อ เป็นศาสนาของเขา ส่วนเราเป็นมุสลิมอิสลามไม่ได้สอนให้ทำบุญสามวัน เจ็ดวัน หรือร้อยวันให้แก่ผู้ตาย เช่นนี้จำเป็นสำหรับมุสลิมจะต้องละทิ้งและออกห่าง เพราะเราเป็นประชาชาติ (อุมมะฮฺ) ของท่านนบีมุหัมมัด ซล. ฉะนั้นเราก็ต้องเป็นคนแปลกหน้าโดยอัตโนมัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
                แต่ถ้าหากมุสลิมสลัดทิ้งความแปลกหน้านั้น สักวันอาจมีพระรูปหนึ่งเดินผ่านหน้าบ้านมุสลิมที่กำลังทำบุญสามวัน เจ็ดวันหรือร้อยวันอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย พระรูปนั้นอาจจะทวงถามในฐานะเจ้าของพิธีกรรมว่า “โยมมุสลิม ที่โยมทำอยู่นั่น เป็นพิธีกรรมศาสนาของอาตมานะโยม”
                แล้วอย่างนี้..โต๊ะละแบจะตอบพระรูปนั้นว่ายังไงครับ?

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

1 ความคิดเห็น: