วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"ความประเสริฐของการละหมาดโดยมีอีหม่าม"

ความประเสริฐของการละหมาดโดยมีอิมาม
การเป็นอิมามนำละหมาดนั้นเป็นสิ่งที่ประเสริฐอย่างใหญ่หลวง ด้วยเหตุนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้เป็นอิมามนำละหมาดด้วยตัวท่านเอง และเคาะลีฟะฮฺทั้งหลายหลังจากท่านนบีก็ได้เป็นอิมามนำละหมาดด้วยตัวของพวกเขาเองเช่นกัน
ดังนั้นอิมามจึงต้องมีความรับผิดชอบที่ใหญ่เช่นกัน เขาคือผู้ที่ต้องรับประกันคุณภาพของการละหมาด เขาจะได้ผลบุญอย่างมากมายหากเขานำการละหมาดได้ดี และเขายังจะได้ผลบุญเพิ่มเติมเหมือนกับผลบุญของผู้ตามที่ละหมาดพร้อมๆ กับเขา

หุก่มการตามอิมาม
เป็นสิ่งวาญิบที่มะอ์มูม(ผู้ละหมาดตามอิมาม)จะต้องตามอิมามในการละหมาดของทุกขั้นตอน ทั้งนี้เนื่องจากตำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
«إنَّمَا جُعِلَ الإمَامُ لِيُؤْتَـمَّ بِـهِ، فَإذَا كَبَّرَ فَكَبِّرُوْا، وإذَا رَكَعَ فَارْكَعُوا، وَإذَا قَالَ: سَمِعَ الله لِـمَنْ حَـمِدَهُ، فَقُولُوا: اللَّهُـمَّ رَبَّنَا لَكَ الحَـمْدُ، وَإذَا صَلَّى قَائِماً فَصَلُّوا قِيَاماً، وَإذَا صَلَّى قَاعِداً فَصَلُّوا قُعُوداً أَجْـمَعُونَ»
ความว่า แท้จริงการตั้งให้มีอิมามนำละหมาดนั้น เพื่อให้เขาถูกตาม ดังนั้นเมื่ออิมามรุกูอฺ พวกท่านก็จงรุกูอฺตาม เมื่ออิมามเงยขึ้นพวกท่านก็จงเงยขึ้นตาม และเมื่ออิมามกล่าว สะมิอัลลอฮุลิมันหะมิดะฮฺ พวกท่านจงกล่าวว่า ร็อบบะนาวะละกัลหัมดฺ เมื่ออิมามละหมาดในท่านั่ง พวกท่านทั้งหมดก็จงนั่งละหมาดด้วย” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 722 และมุสลิม เลขที่: 417 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)

ผู้ที่คู่ควรที่สุดในการเป็นอิมาม
ผู้ที่ทรงสิทธิหรือคู่ควรที่สุดในการเป็นอิมามนำละหมาด คือผู้ที่อ่านกุรอานได้ดีที่สุด หมายถึงผู้ที่จำกุรอานมากที่สุด รองลงมาคือผู้ที่เข้าใจหุก่มในการละหมาดมากที่สุด รองลงมาอีกคือผู้ที่มีความรู้ในสุนนะฮฺมากที่สุด รองลงมาคือผู้ที่ฮิจญ์เราะฮฺก่อน รองลงมาคือผู้ที่เข้ารับอิสลามก่อน รองลงมาคือผู้ที่มีอายุมากกว่า หากทุกคนเหมือนกันให้ตัดสินด้วยการหยิบฉลาก ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวนั้นในกรณีที่กลุ่มหนึ่งจะละหมาดโดยต้องให้คนหนึ่งคนใดในกลุ่มขึ้นเป็นอิมาม แต่หากในกรณีที่มัสญิดมีอิมามประจำอยู่แล้วนั้นจะต้องยกให้อิมามตามตำแหน่งเป็นผู้นำในการละหมาด
มีรายงานจากอบู มัสอูด อัล-อันศอรีย์ ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«يَؤُمُّ القَوْمَ أَقْرَؤُهُـمْ لِكِتَابِ الله، فَإنْ كَانُوا فِي القِرَاءَةِ سَوَاءً فَأَعْلَـمُهُـمْ بِالسُّنَّةِ، فَإنْ كَانُوا فِي السُّنَّةِ سَوَاءً فَأَقْدَمُهُـمْ هِجْرَةً، فَإنْ كَانُوا فِي الهِجْرَةِ سَوَاءً فَأَقْدَمُهُـمْ سِلْـماً»
ความว่า “ผู้ที่เหมาะที่จะนำการละหมาดที่สุดในกลุ่มคือผู้ที่อ่านอัลกุรอานได้ดีที่สุด หากในเรื่องอ่านอัลกุรอานเท่าเทียมกัน รองลงมาคือผู้ที่มีความรู้ในสุนนะฮฺมากที่สุด หากในเรื่องความรู้ในสุนนะฮฺเท่าเทียมกัน รองลงมาคือผู้ที่ฮิจญ์เราะฮฺก่อน หากในเรื่องฮิจญ์เราะฮฺก่อนหลังเท่าเทียมกัน รองลงมาคือผู้ที่เข้ารับอิสลามก่อน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 673)

ผู้เป็นสมาชิกของบ้านใดบ้านหนึ่งและผู้เป็นอิมามของมัสญิดใดมัสญิดหนึ่งคือผู้ที่ทรงสิทธิที่สุดที่จะเป็นอิมามในการละหมาดในสถานที่ของเขา เว้นแต่จะมีผู้ปกครองที่มีอำนาจอยู่ด้วย

หากมีความจำเป็นจริงก็สามารถที่จะละหมาดคนเดียวได้ เช่น การเดินทาง เราก็สามารถละหมาดคนเดียวได้ถ้า ณ ตอนเวลานั้นมีเราเพียงคนเดียว

mulim hot report : รายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น