วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

"โยมมุสลิม นั่นศาสนาอาตมา" พิธีลงเปล

ศาสนาพุทธ
                ข้าวของที่ต้องเตรียมไว้สำหรับพิธีนำเด็กลงเปล ได้แก่ ข้าวตอก, ข้าวเปลือก, ถั่วเขียว, งา, เมล็ดฝ้าย อย่างละหนึ่งกำมือ ให้ใส่ถุงแพรหรือห่อไว้ นอกจากนี้ก็ยังมี หินบด ฟักเขียว
1 ผลมะพร้าวเงินและมะพร้าวทอง อย่างละ 1 ผล (ใช้มะพร้าวทาสีทองและสีเงิน เป็นการสมมติ)
                ครั้นได้ฤกษ์ลงเปล ให้หยิบถุงต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้วางลงในเปลเด็กก่อน แล้วเอาบายศรีปากชามใส่ลงขันข้าวปักแว่นเวียนเทียนแล้วจัดเครื่องกระยาบวช
1 สำรับ
                ให้บิดามารดาพร้อมหมู่งวงศาคณาญาติ มานั่งล้อมกันเป็นวงโดยมีเด็กอยู่ตรงกลาง นำด้ายสายสิญจน์จากพานมาปัดแขนขาของเด็ก โดยถือเคล็ดว่าด้ายปัดเอาสิ่งอันไม่เป็นมงคลตลอดจนเคราะห์และโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายทิ้งไป
                ต่อจากนั้นจึงตักมะพร้าวอ่อนแตะปากเด็กพอเป็นพิธี ครั้นแล้วจุดเทียนในแว่น
3 แว่นยกขึ้นอวยชัยแก่เด็ก 3 ครั้ง แล้วทำพิธีอำนวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข ต่อจากนั้นก็ทำพิธีปูเปลเด็ก
ศานาอิสลาม
                ศาสนาอิสลามไม่มีพิธีกรรมว่าด้วยการลงเปลเด็กทารก เพราะท่านนบีสั่งใช้ให้ทำอะกีเกาะฮฺให้แก่ทารกภายหลังคลอดครบเจ็ดวัน ซึ่งประกอบไปด้วย การเชือดแพรหรือแกะ, การตั้งชื่อ, การโกนศรีษะ, การทำตะหนีกและการขอดุอาอฺให้แก่ทารกเท่านั้น นอกเหนือจากนี้ไม่พบคำสอนของท่านนบีที่สั่งใช้ให้ทำอะไรนอกจากนั้นอีกแล้ว อีกทั้งเรื่องการทำอะกีเกาะฮฺไม่ต้องจัดทำเป็นพิธีกรรมอีกต่างหาก
ประเพณีท้องถิ่นนิยม
                แต่มีมุสลิมบางกลุ่มทำแบบนี้ เมื่อครบเจ็ดวัน หรือมากกว่าเจ็ดวันก็จะแต่งตัวทารกเพศหญิงด้วยอาภรณ์เครื่องประดับที่มีค่าแต่งให้จำนวนมาก บางรายถึงกับอุ้มทารกไม่ได้เพราะหนักเครื่องประดับก็เลยให้เด็กนอนในเบาะ เด็กทารกบางรายโตหน่อยมีเครื่องประดับแต่ไม่ต้องใช้เบาะ ในวงพิธีตรงกลางจะมีเปลซึ่งตกแต่งไว้อย่างสวยงามสายเปลคือเข็มขัดทอง และนาคต่อกันเป็นเส้นยาว หลังจากที่ผู้อุ้มเด็กเดินให้ผู้มาร่วมพิธีซึ่งยืนล้อมวงพิธีดังกล่าวนั้นตัดผมเด็ก เสร็จแล้วก็นำเด็กไปไว้ในเปล จากนั้นผู้ร่วมพิธีจะนั่งลง ผลัดกันไกวเปลพร้อมทั้งอ่านในลักษณะเห่กล่อมโดยเวียนไปรอบๆ
                พิธีกรรมข้างต้น คล้ายกับพิธีกรรมโกนผมไฟของศาสนาพุทธเนื่องจากมุสลิมนำแบบอย่างการวางเด็กทารกไว้ในเปล แล้วทำพิธีกรรมทางศาสนาดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งชาวพุทธเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ และให้โรคภัยต่างๆ รอดพ้นจากเด็กทารกผู้นั้น ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับการกระทำของมุสลิมบางกลุ่มที่ทำพิธีกรรมไกวเปลเด็กทารกพร้อมมีพิธีกรรมต่างๆ ก็เลยไม่รู้ว่า แบบอย่างที่ท่านนบีมุหัมมัด ซล. สั่งและกำชับให้ปฏิบัติ ทำไมจึงเลี่ยงหลีกไม่ยอมปฏิบัติ แต่กลับไปหยิบยืมแนวความเชื่อของศาสนาพุทธมาปฏิบัติเฉยเลย ทั้งๆ ที่อ้างว่าตนเองเป็นประชาชาติของท่านนบีมุหัมหัด ซล.
                สรุป เรื่องพิธีลงเปลไม่มีในอิสลาม และไม่อนุญาตให้มุสลิมกระทำอีกด้วย เพราะไม่ปรากฏจากคำสอน หรือแนวปฏิบัติของท่านนบีมุหัมมัด ซล. แต่ทว่าพิธีกรรมดังกล่าวมีแนวปฏิบัติและแนวความเชื่อจากศาสนาพุทธ


ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น