วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

"โยมมุสลิม นั่นศาสนาอาตมา" ทำบุญอุทิศส่วนกุศล

ศาสนาพุทธ
                การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น จะต้องพร้อมด้วยองค์ประกอบ
3 ประการ คือ
               
1. ทานนั้นจะต้องถวายแก่สงฆ์
               
2. หลังจากถวายทานแล้ว ผู้ถวายต้องตั้งจิตอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
               
3. ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะต้องอยู่ในภพภูมิที่สามารถรับรู้และร่วมอนุโมทนาได้ ตามหลักฐาน มีเปรตจำพวก “ปรทัตตุปชีวิกเปรต” เท่านั้นที่อยู่ในวิสัยที่จะมารับรู้และร่วมอนุโมทนาได้ ถ้าผู้ที่ล่วงลับไม่รู้หรือรู้แต่ไม่ได้อนุโมทนา ก็ไม่ได้รับส่วนบุญที่ญาติมิตรแผ่ไปให้ ฉะนั้น เมื่อทำบุญกุศลทุกครั้ง ควรอุทิศส่วนกุศลให้ญาติทั้งหลายของเราทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ เพราะในสังสารวัฏที่ผ่านมานี้ อาจมีญาติของเรายังคอยการอุทิศส่วนกุศลจากเราอยู่ แม้หากไม่ถึงหรือไม่สำเร็จ บุญนั้นก็ไม่ได้สูญหายไปไหน คงเป็นบุญที่ติดตัวแก่ผู้อุทิศให้นั้น ซึ่งจะส่งผลให้ทำบุญได้รับความสุขความเจริญในชาติต่อๆ ไป
ศาสนาอิสลาม
                ศาสนาอิสลามไม่มีบทบัญญัติให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลในรูปแบบพิธีกรรมให้แก่ผู้ที่ตาย หรือผู้ที่ล่วงลับเหมือนอย่างศาสนาพุทธ เพราะอิสลามสอนว่า เมื่อมุสลิมคนหนึ่งสิ้นชีวิต การงานของเขาถูกตัดขาดลง ซึ่งเขาจะได้รับการตอบแทนในสิ่งที่เขาได้ขวนขวายขณะมีชีวิตอยู่บนโลกดุนยาเท่านั้น
                ทว่า สำหรับผู้ตายจะได้รับผลบุญจากคนที่มีชิวิตอยู่นั้น ย่อมกระทำได้ตราบเท่าที่มีหลักฐานมารองรับไว้เท่านั้น อาทิเช่น บุคคลหนึ่งบริจาคทรัพย์ให้เป็นของส่วนรวม หรือเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่น บริจาคให้แก่มัสญิด จากนั้นเขาก็ตั้งใจว่าสิ่งที่เขาบริจาคไปนั้นมอบความดีให้แก่ผู้ตายคนนั้นคนนี้ (คือบุคคลที่เขาจะตั้งใจมอบให้) ทำนองนี้เป็นต้น
                ส่วนจะให้มุสลิมทำในรูปแบบพิธีกรรม โดยเรียกมุสลิมบางส่วนหรือบางกลุ่มรวมตัวกันนั่งอ่านอัลกุรฺอาน อ่านดุอาอ์ (วิงวอน) ทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายคล้ายๆ รูปแบบที่เชิญพระมาทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายเฉกเช่นพิธีกรรมของศาสนาพุทธหรือศาสนาอื่นนั้น ไม่อนุญาตให้มุสลิมกระทำโดยเด็ดขาด ขอย้ำว่าไม่อนุญาตโดยเด็ดขาด เพราะรูปแบบดังกล่าว ไม่พบว่าถูกระบุไว้ในอัลกุรฺอานและหะดีษของท่านนบีมุหัมมัด ซล. แต่อย่างใดไม่ ฉะนั้นมุสลิมคนใด หรือมุสลิมกลุ่มใดที่กระทำรูปแบบหนึ่งขึ้นมา แล้วอ้างว่านี่คือพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามว่าด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายไม่ว่าผู้ตายคนนั้นจะเป็นมุสลิม หรือไม่ใช่มุสลิมก็ตาย ถือว่าผู้กระทำนั้นได้ฝ่าฝืนหลักการของศาสนาอิสลาม ว่าด้วยการอุตริกรรมสิ่งใหม่ในศาสนา (บิดอะฮฺ) แล้วนั่นเอง
ประเพณีท้องถิ่นนิยม
                ผู้อ่านจะพบเห็นมุสลิมบางกลุ่มบางพวกที่ทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไม่ว่าจะเป็นมุสลิม หรือคนต่างศาสนิกก็ตาม แล้วอ้างว่านั่นเป็นพิธีกรรมทางศานาอิสลาม ตัวอย่างเช่น มุสลิมทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ตายอันเนื่องจากคลื่นสึนามิ, ให้แก่ผู้ตายอันเนื่องจากเครื่องบินตก, ให้แก่ผู้ที่ถูกไฟไหม้ตาย หรือกรณีอื่นๆ
                โดยมุสลิมกลุ่มที่อ้างถึงพิธีกรรมดังกล่าวนั้น ได้อ่านทั้งอัลกุรฺอานทั้งดุอาอ์ อย่างมากมาย บางครั้งก็พิมพ์เป็นเล่มเพื่อการเผยแพร่ และนี่คือตัวอย่างหนึ่งของการขอดุอาอ์ในการทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
                ดุอาต้นที่
2 เป็นดุอาส่งท้าย สำหรับส่งถึงบรรดาดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วคือ
               
1. “อัลลอฮฺเจ้า ผู้อภิบายรักษาบรรดาวิญญาณซึ่งคับขันเหล่านี้ บรรดาสังขาร(ร่างกาย) ซึ่งเน่าเปื่อยเหล่านี้”
               
2. “และบรรดากระดูกซึ่งผุพัง ซึ่งเขาต้องออกจากโลกดุนยานี้ไป สภาพที่เขาได้เป็นผู้เชื่อมั่นศรัทธาต่อพระองค์ ท่านโปรดจงเอาดวงวิญญาณจากกรรมสิทธิ์ของพระองค์ท่านใส่เข้าไปบนเขาด้วย และโปรดรับสลามจากฉัน”
               
3. “อัลลอฮฺเจ้า ด้วยความเที่ยงธรรมเที่ยงแท้ของน่าบีมุฮัมมัด และวงศ์ตระกูลของน่าบีมุฮัมมัด พระองค์ท่านโปรดอย่าทำโทษทรมารแกคนตายผู้นี้เลย”
               
4. “ผู้ถูกฝังในสุสานอิสลามทั้งหมด โอ พระเจ้าผู้อภิบายสากลโลกคำขอดุอา (วิงวอน) ของเขาทั้งหลายในสุสาน หรือสวรรค์นั้น มหาสะอาดบริสุทธิ์อัลลอฮฺเจ้า และการคำนับของเขาเหล่านั้น ภายในสวรรค์นั้นคือสลาม และสุดท้ายคำขอดุอาของพวกเรานั่นคือความจริง การสรรเสริญทั้งมวลนั้น ขอถวายแด่อัลลอฮฺเจ้า ผู้อภิบายคุ้มครองทั่วสากลโลก”
                ดุอาอ์ที่กล่าวมาข้างต้น (อันที่จริงมีมากกว่านี้ แต่ขอหยิบยกเพื่อเป็นตัวอย่างเท่านั้น) เป็นดุอาอ์ที่ถูกแต่งขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายไปแล้วเท่านั้น แต่ทั้งพิธีกรรมและอุอาอ์ข้างต้นไม่มีแบบอย่างใดๆ จากท่านนบีมุหัมมัด ซล. หรือจากบรรดาสละฟุศศอลิหฺ (บรรพชนรุ่นแรก) เลยแม้แต่น้อย เมื่อไม่มีแบบฉบับใดๆ จากท่านนบีมุหัมมัด ซล. แต่มุสลิมบางกลุ่มอ้างว่านั่นเป็นเรื่องของพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม ก็แสดงให้เห็นว่า บุคคลที่กล่าวอ้างเช่น นั้นได้อุตริกรรมสิ่งใหม่ในศาสนา (บิดอะฮฺ) แล้วนั่นเอง ดั่งที่ท่านนบีเคยกล่าวไว้ว่า “บุคคลใดที่อุตริสิ่งใหม่ในกิจการงานของเรา โดยสิ่งนั้นไม่มีในกิจการงานของเรา ถือว่า (สิ่งนั้น) เป็นโมฆะ”
                เมื่อความจริงปรากฏเด่นชัดเช่นนี้แล้ว โอกาสข้างหน้า คงไม่มีมุสลิมคนใดเข้าร่วมพิธีกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับที่เป็นมุสลิม หรือไม่ใช่มุสลิม อีกแล้วนะครับ

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

http://muslimhotreport.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น