วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

"โยมมุสลิม นั่นศาสนาอาตมา" การตั้งชื่อเด็กแรกเกิด

ศาสนาพุทธ
                ในสมัยโบราณ หรือแม้แต่ในปัจจุบัน การตั้งชื่อถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะเด็กต้องใช้ชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้ตลอดไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนใหม่ และการตั้งชื่อนั้นจะต้องให้สอดคล้องเป็นมงคลกับวันเกิดของเด็กตามหลักคัมภีร์ทักษา เพื่อความสุขสวัสดี
                หลักการตั้งชื่อตามคัมภีร์ทักษา มีดังนี้
                ชื่อที่ตั้ง  จะต้องมีอักษรที่เป็นมงคลนามกับวันเกิดของเด็ก
                ชื่อที่ตั้ง  จะต้องไม่อักษรที่เป็นกาลกิณี
                ชื่อที่ตั้ง  จะต้องสอดคล้องกับเพศของเด็ก คือ หากเป็นผู้ชายควรใช้ชื่อที่มีอักษรซึ่งเป็น “เดช” นำหน้าชื่อ หากเป็นหญิงควรใช้อักษรซึ่งเป็น “ศรี” นำหน้าชื่อ
                ตัวอย่างเช่น
                เกิดวันอาทิตย์ อักษรที่เป็นเดช (เพศชาย) ใช้อักษร จ ฉ ช ซ ฌ ญ ส่วนอักษรที่เป็นศรี ใช้ ฎ ฏ ฐ ฒ ณ
                เกิดวันจันทร์ อักษรที่เป็นเดช ใช้อักษร ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ส่วนอักษรที่เป็นศรี ใช้ ด ต ถ ท ธ น นำหน้าชื่อเป็นต้น
ศาสนาอิสลาม
                หลักการอิสลามมิได้ระบุถึงการตั้งชื่อทารกแรกเกิดไปผูกติดกับวัน และเวลาแม้แต่น้อย เพราะมุสลิมทุกคนเชื่อมั่นว่า เด็กทุกคนที่เกิดมายังโลกนี้ล้วนเป็นเด็กที่บริสุทธิ์ ดั่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. กล่าวไว้ว่า “เด็กทุกคนถูกเกิดมาบนความบริสุทธิ์” ส่วนเรื่องตั้งชื่อทารกตรงกับวันที่เกิด ล้วนเป็นสิ่งที่ไร้สาระ เพราะมุสลิมเชื่อมั่น และมอบหมายทุกสิ่งทุกอย่างยังพระองค์อัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น ดังนั้นการอ้างถึงความจำเริญด้วยการตั้งชื่อทารกตรงกับวันที่ทารกถูกคลอดจึงเป็นการไม่ไว้วางใจต่อพระองค์อัลลอฮฺ อีกทั้งกลับไปเชื่อวันเวลาจะให้คุณ ให้โทษ จึงเป็นการตั้งภาคี (ชิริก) ในทัศนะของอิสลาม
ประเพณีท้องถิ่นนิยม
                ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อ ยังมีมุสลิมบางกลุ่มที่หลงเชื่อว่า การตั้งชื่อให้ตรงกับวันเกิดของทารกจะทำให้ทารกมีสิริมงคล โดยพวกเขาผูกพันอยู่กับวันและเวลา นัยความจริงการตั้งชื่อให้ตรงกับวันที่เกิดนั้น พื้นฐานความเชื่อมาจากศาสนาพุทธ แต่ด้วยเหตุผลกลใดไม่ทราบ มุสลิมบางกลุ่มกลับไปยึดแนวของพุทธมาปฏิบัติ ทั้งๆ ที่เรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับอิสลามชัดเจนที่สุด ดั่งตัวอย่างที่พวกเขาเชื่อว่าให้ตั้งชื่อตามวันเวลาที่ทารกเกิด
                กำเนิดเวลากลางวัน
                วันอาทิตย์
                                ชาย ให้ชื่อ อิบรอฮีม, สุลัยมาน, ยะฮฺยา, อีซา, มูซา, ดาวูด, อัยยูบ, ซะกะรี้ยา, ซอและห์
                                หญิง ให้ชื่อ ฮาลีมะฮฺ, ฮัฟเซาะฮฺ, ฮาบีบ๊ะฮฺ, สุไลคอ, รอบีอ๊ะฮฺ
                กำเนิดเวลากลางคืน
                วันอาทิตย์
                                ชาย ให้ชื่อ อิสมาอีล, อะบูบักรฺ, อุมัร, อุสมาน, อับดุ้ลลอฮฺ
                                หญิง ให้ชื่อ ฮัฟเซาะฮ์, ฮาวา, ไซหนับ
                วันจันทร์
                                ชาย ให้ชื่อ มูฮำมัด, อะหฮมัด, อิบรอฮีม, ยะอฺกู๊บ, ยูซุฟ
                                หญิง ให้ชื่อ ฟาติมะฮ์, ซาเราะฮ์, อาบีด๊ะฮ์ (ทำนองนี้เป็นต้น)
สรุป เรื่องการตั้งชื่อตามวันเวาลาที่ทารกเกิดล้วนเป็นความเชื่อทางศาสนาพุทธ ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับมุสลิมเลยแม้แต่น้อย แต่ทำไมความเชื่อของชาวพุทธ มุสลิมกับไปรับอิทธิพลเช่นนั้นมาด้วย ประเด็นนี้แหละที่มุสลิมจะต้องตระหนัก และค้นหาคำตอบให้แก่ตัวเองได้แล้วว่าอิสลามสูงส่ง ดั่งที่ท่านนบีเคยกล่าวไว้ว่า “อิสลามนั้นสูงส่งยิ่ง และไม่มีแนวทางใด (ลัทธิใด หรือศาสนาใด) สูงส่งเหนืออิสลาม (อีกแล้ว)” อีกทั้งพระองค์จะรับการงานที่เป็นอิสลามเท่านั้น แต่ไฉนเลยมุสลิมบางกลุ่มจึงไปนำแนวทางของพุทธมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด?

ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report

3 ความคิดเห็น:

  1. อิสลามไม่ได้สอนให้คิดว่าไม่เชื่ออย่าลบลู่ แต่สอนให้เรารู้ว่าไม่ใช่แนวทางของเรา เพราะฉะนั้นสิ่งไหนที่เชื่อแล้ว ทำแล้วจะนำเราไปสู่หนทางแห่งความชิริกก็ขอจงหยุดเถอะครับ......

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ30 พฤษภาคม 2555 เวลา 00:27

      การตั้งชื่อเด็กทารก ก็ขอให้มีความหมายที่ดี สวยงาม ตามทัศนคติของอิสลามก็พอควรแล้วนะครับ อย่าได้ถือเรื่องโชคลาภ ความประเสริฐตามความเชื่ออย่างอื่นที่นอกเหลือจาก "ทรงอำนาจ" ของพระองค์อัลลอฮฺอีกเลยครับพี่น้องมุสลิมทั้งหลาย

      ลบ
  2. ตามที่ท่านนำตัวอย่างมานั้น ล้วนแต่ชื่อของท่านนบีและ ภรรยาของท่าน และชื่อของพระเจ้าที่มีคำนำหน้าว่า "บ่าว" เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับวันที่ท่านเอ่ยมาเลยสักนิด ฉะนั้น ข้อมูลที่ท่านนำมาจึงผิดโดยสิ้นเชิง

    ตอบลบ