ศาสนาพุทธ
ครั้งถึงฤกษ์งามยามดี ผู้กระทำพิธีก็นำเด็กออกมาวางต่อหน้าพระสงฆ์ โดยหันศีรษะเด็กไปทางทิศที่โหรกำหนด ส่วนใหญ่จะนำออกมาก่อนได้เวลาฤกษ์เล็กน้อย เพื่อให้ญาติมิตรได้ชื่นชมในตัวเด็ก ครั้งถึงฤกษ์โหรก็ทำการลั่นฆ้องชัย ผู้ที่ได้รับเชิญมาเป็นประธานในงานทำการหลั่งน้ำจากหอยสังข์รถไปบนศีรษะของเด็ก แล้วหยิบมีดโกนแตะบนศีรษะเด็กพอเป็นพิธีพร้อมอวยชัยให้พร พระสงฆ์สวดชยันโตพราหมณ์เป่าสังข์และไกวบัณเฑาะว์ บรรดาพิณพาทย์บรรเลงเพลงมหาฤาษ์มหาชัย ต่อจากนั้นจึงให้ช่างทำการโกนผมไฟ
ครั้งถึงฤกษ์งามยามดี ผู้กระทำพิธีก็นำเด็กออกมาวางต่อหน้าพระสงฆ์ โดยหันศีรษะเด็กไปทางทิศที่โหรกำหนด ส่วนใหญ่จะนำออกมาก่อนได้เวลาฤกษ์เล็กน้อย เพื่อให้ญาติมิตรได้ชื่นชมในตัวเด็ก ครั้งถึงฤกษ์โหรก็ทำการลั่นฆ้องชัย ผู้ที่ได้รับเชิญมาเป็นประธานในงานทำการหลั่งน้ำจากหอยสังข์รถไปบนศีรษะของเด็ก แล้วหยิบมีดโกนแตะบนศีรษะเด็กพอเป็นพิธีพร้อมอวยชัยให้พร พระสงฆ์สวดชยันโตพราหมณ์เป่าสังข์และไกวบัณเฑาะว์ บรรดาพิณพาทย์บรรเลงเพลงมหาฤาษ์มหาชัย ต่อจากนั้นจึงให้ช่างทำการโกนผมไฟ
ศาสนาอิสลาม
เมื่อทารกมีอายุครบเจ็ดวัน มีแบบฉบับจากท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. ให้ทำอะกีเกาะฮฺ ท่านรสูล ซล. กล่าวไว้ว่า “ทารกทุกคนถูกประกันด้วยอะกีเกาะฮฺของเขาด้วยการเชือดสัตว์ในวันที่เจ็ด ให้โกนศีรษะและตั้งชื่อเขา”
เมื่อทารกมีอายุครบเจ็ดวัน มีแบบฉบับจากท่านรสูลุลลอฮฺ ซล. ให้ทำอะกีเกาะฮฺ ท่านรสูล ซล. กล่าวไว้ว่า “ทารกทุกคนถูกประกันด้วยอะกีเกาะฮฺของเขาด้วยการเชือดสัตว์ในวันที่เจ็ด ให้โกนศีรษะและตั้งชื่อเขา”
ด้วยหะดีษข้างต้น ท่านรสูล ซล. ระบุถึงการทำอะกีเกาะฮฺด้วยแพะ หรือแกะให้ตั้งชื่อทารก ให้โกนศีรษะทารก หะดีษบางบทเพิ่มการทำตะหนีก (คือการนำน้ำผึง หรืออินทผลัมบดป้ายที่เพดานปากของทารก) ดังนั้นการทำอะกีเกาะฮฺจึงไม่มีการทำพิธีกรรมใดๆ อีกแล้ว ภายหลังได้ทำสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น และไม่เรียกการกระทำเช่นนั้นว่า “โกนผมไฟ” แต่อย่างใด
ประเพณีท้องถิ่นนิยม
ทว่ามุสลิมบางกลุ่มกลับทำพิธีกรรมโกนผมไฟของพุทธกับอิสลามรวมเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน โดยเชิญโต๊ะอิมาม หรือโต๊ะครูพร้อมกับโต๊ะละแบมาทำพิธีกรรมให้แก่ทารกแรกคลอด พวกเขานำทารากมาวางไว้ข้างหน้าโต๊ะอิมาม หรือโต๊ะครู จากนั้นพวกเขาก็ขอดุอาอ์ (ไม่ขอระบุในที่นี้ หากต้องการทราบดุอาอ์ดังกล่าว ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ “โยมมุสลิม นั่น..ศาสนาอาตมา” เขียนโดยอาจารย์มุรีด ทิมะเสน)
ทว่ามุสลิมบางกลุ่มกลับทำพิธีกรรมโกนผมไฟของพุทธกับอิสลามรวมเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน โดยเชิญโต๊ะอิมาม หรือโต๊ะครูพร้อมกับโต๊ะละแบมาทำพิธีกรรมให้แก่ทารกแรกคลอด พวกเขานำทารากมาวางไว้ข้างหน้าโต๊ะอิมาม หรือโต๊ะครู จากนั้นพวกเขาก็ขอดุอาอ์ (ไม่ขอระบุในที่นี้ หากต้องการทราบดุอาอ์ดังกล่าว ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ “โยมมุสลิม นั่น..ศาสนาอาตมา” เขียนโดยอาจารย์มุรีด ทิมะเสน)
ครั้นอ่านจบโต๊ะอมามก็เริ่มตัดผมทารก จากนั้นก็เวียนให้บรรดาโต๊ะละแบตัดผมทารกจนกระทั่งครบทุกคน โดยก่อนตัดผมทารก ผู้ตัดก็จะเป่าที่ศีรษะทารกจากนั้นก็อ่านดุอาอ์ (ไม่ขอระบุในที่นี้ หากต้องการทราบดุอาอ์ดังกล่าว ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ “โยมมุสลิม นั่น..ศาสนาอาตมา” เขียนโดยอาจารย์มุรีด ทิมะเสน)
พิธีกรรมของมุสลิมบางกลุ่มว่าด้วยเรื่องการตัดผมทารกไม่แตกต่างจากพิธีกรรมของชาวพุทธสักเท่าใด แต่ที่เห็นจะแตกต่างกันก็คงเรื่องวิงวอนกันคนละภาษา ซึ่งพระก็สดชยันโต ใช้ภาษาบาลีสันสกฤต ส่วนโต๊ะละแบวิงวอนเป็นภาษาอฺรับที่ล้วนคิดและเรียบเรียงกันขึ้นมาเองทั้งสิ้น
สรุป การทำพิธีกรรมของมุสลิมบางกลุ่มโดยทำพิธีกรรมอ่านดุอาอ์ โดยให้โต๊ะครู โต๊ะอิมามตัดเส้นผมของทารกบางส่วนก่อนเพื่อความจำเริญ จากนั้นก็เวียนทารกให้โต๊ะละแบตัดคนละนิดละหน่อย ซึ่งการกระทำเช่นนั้นไม่มีแบบฉบับจากท่านนบี ทว่าท่านนบีระบุให้โกนศีรษะทารกทั้งหมดไม่ใช่ตัดเส้นผมบางส่วน ยิ่งไปกว่านั้นการกระทำเช่นนั้นคล้ายๆ กับการโกนผมไฟของชาวพุทธ ที่เชิญพระสงฆ์มาทำพิธีให้แก่ทารกของตน โดยพระสงฆ์จะวางมีดโกนบนศีรษะของทารกก็ถือว่ามีสิริมงคลแล้ว มุสลิมที่กระทำเช่นนั้นก็เชื่อว่าเชิญโต๊ะละแบมาทำพิธีให้แก่ลูกหลานของตนเพื่อมีสิริมงคล (บะเราะกะฮฺ) เหมือนกัน
ขอบคุณเนื้อหา อาจารย์มุรีด ทิมะเสน
Present by Muslim Hot Report
http://muslimhotreport.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น